เทวภูมิ ๖
(สวรรค์ ๖)
---แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง "กามาพจรสวรรค์"
*๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑)
---สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์
---๑.ท้าววธตรัฐะมหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
---๒.ท้าวิรุฬหกะมหาราช เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้
---๓.ท้าววิรูปักษ์มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
---๔.ท้าวเวสสุวรรณมหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ (ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ) ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้
---เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า"ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔ " พระเจ้าพิมพิสารเอง แม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้ ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช
*เทวดาที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของ ท้าวจาตุมหาราช
---๑.ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
---๒.อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
---๓.ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย
---๔.มโนปโทสิเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
---๕.สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
---๖.อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
---๗.จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
---๘.สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์
*ยักษิณีนางยักษ์
---ยักษ์ มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึง อมนุษย์ พวกหนึ่ง เป็นบริวารของ ท้าวกุเวร ตามที่ ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวโง้ง ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมามีฤทธิ์ เหาะได้ จำแลงตัวได้
---เทวดา หมู่เทพ ชาวสวรรค์ เป็นคำนามเรียก ชาวสวรรค์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง
*เทวดาตามที่อยู่อาศัย
*๑.ภุมมัฎฐเทวดา
---เทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน บ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ถือว่าที่นั้น ๆ เป็นวิมานของตน
*๒.รุกขเทวดา
---เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ
---๒.๑ มีวิมานอยู่บนต้นไม้
---ถ้าอยู่บนยอดต้นไม้ เรียก "รุกขวิมาน"
---ถ้าอยู่บนสาขาของต้นไม้ เรียก "สาขัฏฐวิมาน"
---๒.๒ อยู่บนต้นไม้แต่ไม่มีวิมาน (ที่อยู่ของเทวดา)
*๓.อากาสัฏฐเทวดา
---เทวดาที่มีวิมานอยู่ในอากาศ ในธรรมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถา แสดงเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา มี 2 จำพวก โดยจัด รุกขะเทวดา อยู่ในจำพวก ภุมมัฎฐะเทวดา , เทพารักษ์ เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
*เทวดาที่มีใจโหดร้าย
---๑.คันธัพโพ, คันธัพพี
---ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ที่เรียกว่า "นางไม้หรือแม่ย่านาง "หรือ คนธรรพ์ ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ที่นำไม้นั้นมาใช้สอย อยู่ในความ ปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ
---คันธัพพะเทวดา นี้สิงอยู่ในไม้นั้นตลอดไป แม้ใครจะตัดไปใช้สอยอย่างใด ๆ ผิดกับ "รุกขเทวดา" ที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นนั้นไปต้นอื่น
---๒.กุมภัณโฑ, กุมภัณฑี
---ได้แก่ เทวดาภุมภัณฑ์ ที่เรียกกันว่า " รากษส " เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติต่าง ๆ เช่น แก้วมณีและรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีพวกล่วงล้ำ ก็ให้โทษต่าง ๆ อยู่ในความปกครองของ ท้าววิรุฬหกะ
---๓.นาโค, นาคี
---ได้แก่ เทวดา, นาค มีวิชาเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคนสัตว์ต่าง ๆ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าววิรูปักขะ
---๔.ยักโข, ยักขินี
---ได้แก่ เทวดา, ยักษ์ พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าวเวสสุวรรณ
*อาการเกิดของเทวดา
---ถ้าได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากกพอ ก็ไปเกิดในวิมานของตนเองพร้อมกับมีบริวาร ไม่ต้องเป็นบุตรธิดาหรือเทวดารับใช้ของผู้ใด กล่าวไว้ในอรรถกถาบางแห่งเป็นพิเศษ
---เทวบุตร คือ บุรุษ ที่เกิดบนตักของเทวดา
---เทวธิดา คือ สตรี ที่เกิดบนตักของเทวดา
---เทวดาสตรี ถ้าเกิด ในที่นอน จัดเป็น ปริจาริกา (นางบำเรอ)
---ถ้าเกิด ข้างที่นอน จัดเป็น พนักงานเครื่องสำอาง
---ถ้าเกิด กลางวิมาน จัดเป็น คนใช้
*๒ ดาวดึงส์ (สรรค์ชั้นที่ ๒)
---แดนแห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ "ท้าวสักกะ" หรือที่เรียกว่า "พระอินทร์" เป็นใหญ่สุด
---เมื่อพระอินทร์องค์หนึ่งสิ้นบุญ จุติ ไป ก็มีพระอินทร์อีกองค์หนึ่งเกิดสืบแทนกันไป ดาวดึงส์ เป็นคำบาลีแปลว่า ๓๓ บางทีก็เรียก "ไตรตรึงษ์" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ๓๓ เหมือนกัน
---ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากกุศลธรรมในอดีต บริโภคอาหารอันละเอียดสุขุม ชนิดที่เป็น "สุธาโภชน์ " (ผู้บริโภคอาหารทิพย์) อารมณ์ที่ได้รับจึงล้วนมีแต่ "อิฏฐรมณ์ " (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และไม่มีความเจ็บป่วย ไม่มีอุจจาระ, ปัสสาวะ,
---เทวดาผู้ชาย มีความเป็นหนุ่มอยู่ในวัย ๒๐ ปี, ส่วนเทวดาผู้หญิงมีความเป็นสาวอยู่ในวัย ๑๖ ปี สวยงามตลอดไปจนตาย มิได้มีความชรา เทวดาผู้หญิงไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์
---เว้นแต่ "ภุมมัฏฐเทวดา" บางองค์ที่ยังมีประจำเดือนและครรภ์เหมือนมนุษย์ ความเป็นอยู่ของเทวดาบนเทวโลกนี้ เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์โลก มีการไปมาหาสู่กันและเบียดเบียนกัน มีความรักใคร่ ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน สมบัติของเทวดาเหล่านั้น มีความยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งบริวาร, วิมานและ อิฎฐรมณ์ ต่าง ๆ สุดแต่กรรมที่ตนได้กระทำไว้
*โกสิยเทวราช คือ พระอินทร์ เรียก ท้าวโกสีย์ บ้าง ท้าวสักกเทวราช บ้าง**เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์ มี ๒ พวก
---๑. ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่ พระอินทร์ และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร เทวอสุรา ๕ จำพวก
---๒. อากาสัฏฐเทวดา ได้แก่ พวกเทวดาที่อยู่ในวิมานลอยไปกลางอากาศ
*เทพ, เทพเจ้าเทวดา
---๑.สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร
---๒.อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาใน กามาวจรสวรรค์ และ พรหม ทั้งหลาย เป็นต้น
---๓.วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ทั้งหลาย
*สุขาวดี
---แดนที่มีความสุข เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน
*๓.ยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓)
---แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี "ท้าวสุยามเทพบุตร" ปกครอง
---ตั้งแต่ภูมิ "ยามา" นี้ขึ้นไปตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดา "ภุมมัฏฐเทวดา" อาศัยอยู่ มีแต่พวก "อากาสัฏฐเทวดา" พวกเดียว ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มาก
---เป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ ที่อยู่ของพวกที่รักษา อุโบสถ, ในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มาก แต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำ ด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ, เทพชั้นยามา ไม่ปรากฏว่าได้ลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์
*๔.ดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔)
---แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี "ท้าวดุสิตเทวราช" ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา, เป็นภพสุดท้าย ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดและตรัสรู้ในมนุษย์โลก ทิพย์เป็นของเทวดา วิเศษเลิศกว่าของมนุษย์
*๕.นิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕)
---แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มี "ท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช" ปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป
*พระพุทธเจ้าตรัสว่า
---กัมมัง เขตตัง กรรม เป็นเหมือนนา
---วิญญาณัง พีชัง วิญญาณ เป็นเหมือนพืชที่หว่านลง ในนา
---ตัณหา สิเนโห ตัณหา เหมือนยางเหนียวมีอยู่ ในพืช อันจะทำให้พืชนั้นปลูกงอกงามขึ้นได้
---เพราะฉะนั้น เมื่อยังมี กรรม , วิญญาณ และ ตัณหา อยู่ ก็ยังจะต้องไปเกิดในภพต่าง ๆ คือ หมายความว่า ยังมี "อวิชชา" เป็นเครื่องกั้นอยู่ ยังมี "ตัณหา" เป็น "สังโยชน์ " คือ เครื่องผูกอยู่
*๖.ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖)
---แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้
---มีเทพเป็นราชาผู้ปกครองอยู่ ๒ ฝ่าย
---ฝ่าย เทพยดา (๑) ปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช ปกครองเทพไม่เป็นมาร
---ฝ่าย มาร (๒) ปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช (ชื่อเหมือนกัน) หรือ พญามาราธิราช หรือ วสวัตตีมาร ปกครองเทพที่เป็นมาร ฝ่ายมาร (๒) หรือเทวปุตตมาร
---เป็น มิจฉาทิฎฐฺ เทวดา : ที่ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา มารนี้มีความกลัว เป็นข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่ง ว่าตนจะสิ้นอำนาจครอบครองโลก ไม่ประสงค์ให้ใครทั้งนั้นบรรลุ มรรค , ผล, นิพพาน, เพราะเมื่อผู้ใดพ้นโลก หมายถึงว่า มีจิตใจพ้นกิเลสดังกล่าว ผู้นั้นก็พ้นอำนาจของมาร ทั้งยังเป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่เสมอ
---เมื่อวันที่ พระพุทธองค์ เสด็จอออกบวช พญามารตนนี้ได้มาปรากฏตัว ยกมือห้ามว่าอย่าออกบวชเลย อีกไม่นานเท่าไร ท่านก็จะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว, เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงขับไล่ออกไป
---เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ก็มากระซิบบอกว่า "บัดนี้พระองค์ก็บรรลุสัมโพธิญาณดังหวังแล้ว ปรินิพพาน เถอะ" พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะไม่ ปรินิพพาน จนกว่า พรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมอันประเสริฐ) ของพระองค์จะแพร่หลายมั่นคง
---ครั้นเมื่อเงื่อนไขทุกอย่างพร้อมแล้ว พญามารจึงเข้ามากราบทูลให้ ปรินิพพาน เท่ากับทวงสัญญาว่าบัดนี้ถึงเวลาที่พระองค์จะปรินิพพานแล้วพระพุทธองค์ จึงทรงปลงอายุสังขาร
---พญามาราธิราช จะต้องทำบุญไว้มาก ไม่เช่นนั้นก็จะไม่บังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงนี้ได้ภายหลังละ มิจฉาทิฏฐิ และกลับมาเลื่อมใสในพุทธศาสนา
---เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นที่รับใช้เนรมิตให้ตามต้องการ เป็นภูมิที่มีความสุขและเพลิดเพลินมาก เทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ ไม่มีคู่ครองเป็นประจำโดยเฉพาะตน เป็นที่อยู่ของพวกที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นไว้มาก
*เทวภูมิ หรือ ฉกามาพจรสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น ยังเกี่ยวข้องกับ กามคุณ*
---ปลงอายุสังขาร ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ ตกลงพระทัยว่าจะ ปรินิพพาน
---ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว
---ทุกรกิริยา การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรม วิเศษด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่น กลั้นลมอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ (ลมหายใจออก) และอดอาหาร เป็นต้น (เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา)
*เทวภูมิ ๖ (ฉกามาพจรสวรรค์ ๖)
---๑.จาตุมหาราชิกา มีเหมือนมนุษย์
---๒.ดาวดึงส์ มีเหมือนมนุษย์
---๓.ยามา มีแต่ กายสังสัคคะ (กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย การเคล้าคลึงร่างกาย)
---๔.ดุสิต มีเพียงจับมือกัน
---๕.นิมมานรดี มีเพียงยิ้มรับกัน
---๖.ปรนิมมิตสวัตตี มีแต่มองดูกัน
---ในเทวภูมิไม่มีสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อต้องการจะมีม้ารถเทียม ก็จะมีเทพบุตรจำแลง กายของเทวดา เรียกว่าเป็น "กายทิพย์"
---กายทิพย์ เป็นกายสว่างละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็น อุปปาติกะ คือ ผุดเกิดขึ้น มีตัวตนโตเต็มที่เลย แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ การยที่ไม่ปรากฏแก่ตาคนในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่เจ็บไม่ปรากฏตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก
*เทวดาจะจุติ มี ๔ ประการ
*๑.อายุขัย จุติเพราะสิ้นอายุ
---ได้แก่ เทวดาที่ได้เคยสร้างกุศลมาก็ได้เสวยสมบัติทิพย์จนครบอายุทิพย์ในเทวโลกชั้นที่ตนอยู่นั้น ครั้นหมดอายุแล้วก็จุติ
*๒.บุญญขัย จุติเพราะสิ้นบุญ
---ได้แก่ เทวดาที่สร้างสมบุญกุศลไว้น้อย เมื่อกุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้หมดสิ้นลงเสีย แต่ในระหว่างยังไม่ถึงอายุขัย จำต้องจุติไปเกิดที่อื่น เพราะหมดบุญแล้ว
*๓.อาหารขัย จุติเพราะสิ้นอาหาร
---ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่เสวยทิพย์สมบัติ จนลืมบริโภคสุธาโภชนาหารทิพย์อันเป็นปัจจัยแก่กาย และชีวิตถ้าแม้ว่าเขาลืมบริโภคภายหลังสักร้อยครั้งพันครั้ง ก็มิอาจจะซ่อมแซมให้ดีขึ้นมาใหม่
*๔.โกธพลขัย จุติเพราะความโกรธ
---ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่มีจิตริษยาหาเหตุพาล มีความโกรธในหัวใจ
*จุตินิมิตของเทวดา ๕ ประการ นิมิตล่วงหน้า ซึ่งอุบัติเกิดแก่เทวดาผู้จะต้องจุติ
---จุติ เคลื่อนจาก ภพ หนึ่งไปสู่ ภพ อื่น ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
---๑.ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับเหี่ยวแห้ง
---๒.ผ้าทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์มีสีเศร้าหมอง
---๓.มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้
---๔.ที่นั่งและที่นอนร้อนดุจมีไฟอยู่ภายใต้
---๕.กายของเทวดาเหี่ยวแห้งเศร้าหมองหารัศมีเช่นก่อนไม่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวมือตีน มีความกระวนกระวายใจ.
..............................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558
ความคิดเห็น