/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ความเป็นมาของพระธาตุ

ความเป็นมาของพระธาตุ

ความเป็นมาของพระธาตุ







---แปลกมั๊ยครับ ที่ ในบันทึกสมัยโบราณของคนไทย รู้วัน เดือน ปีเกิด ของพระเจ้าอโศกมหาราช และขึ้นครองราชย์ตรงตามที่ พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าข้อความที่ปรากฏอยู่ในตำนานทางเหนือ แปลออกมาเป็นไทยแล้วในพระอรรถกถา ตอนหนึ่ง บันทึกไว้ว่า.. แม้พระมหากัสสปเถรก็เล็งเห็นพระเจ้าอโศกล่วงหน้าถึง ๒๑๘ ปี



---ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ อธิษฐานว่า พวงมาลัยอย่าเหี่ยว กลิ่นหอมอย่าหาย ประทีปอย่าไหม้ แล้วให้จารึกอักษรไว้ ที่แผ่นทองว่า แม้ในอนาคตกาลครั้งพระกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายไป ดังนี้.


---พระราชาทรงเอาเครื่องประดับทั้งหมดบูชา ทรงปิดประตูแล้วเสด็จออกไปตั้งแต่แรก.


---ท้าวเธอครั้นปิดประตูทองแดงแล้ว ทรงคล้องตรากุญแจไว้ที่เชือกผูก ทรงวางแท่งแก้วมณีแท่งใหญ่ไว้ที่ตรงนั้นนั่นเอง โปรดให้จารึกอักษรไว้ว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจน จงถือเอาแก้วมณีแท่งนี้ กระทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลายเทอญ.



---ท้าวสักกะเทวราช เรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาทรงส่งไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า พ่อเอ๋ย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเก็บพระบรมธาตุแล้ว เจ้าจงตั้งกองรักษาการณ์ไว้ที่นั้น.


---วิสสุกรรมเทพบุตรมาประกอบหุ่นยนต์มีโครงร่างร้าย รูปไม้(หุ่นยนต์) ถือพระขรรค์สีแก้วผลึก ในห้องพระบรมธาตุ เคลื่อนตัวได้เร็วเสมือนลม.


---วิสสุกรรมเทพบุตรประกอบหุ่นยนต์แล้ว ติดลิ่มสลักไว้อันเดียวเท่านั้น เอาสิลาล้อมไว้โดยรอบ โดยอาการเสมือนเรือนสร้างด้วยอิฐ ข้างบนปิดด้วยสิลาแผ่นเดียว ใส่ฝุ่นแล้วทำพื้นให้เรียบ แล้วประดิษฐานสถูปหินไว้
บนที่นั้น.


---เมื่อการเก็บพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยอย่างนี้แล้ว แม้พระเถระดำรงอยู่จนตลอดอายุก็ปรินิพพาน แม้พระราชาก็เสด็จไปตามยถากรรม พวกมนุษย์แม้เหล่านั้น ก็ตายกันไป.



---ต่อมาภายหลัง เมื่อครั้งอโศกกุมารเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ทรงรับพระบรมธาตุเหล่านั้นไว้แล้ว ได้ทรงกระทำให้แพร่หลาย.


---ทรงกระทำให้แพร่หลายอย่างไร  พระเจ้าอโศกนั้น อาศัยนิโครธสามเณร ทรงได้ความเลื่อมใสในพระศาสนา โปรดให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐วิหารแล้ว ตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารแล้ว จักได้พระบรมธาตุมาจากไหนเล่า ท่านเจ้าข้า.


---ภิกษุสงฆ์ทูลว่า ถวายพระพร พวกอาตมภาพฟังมาว่า ชื่อว่าที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน.


---
พระราชาให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำพระเจดีย์คืนดี อย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปยัง กรุงเวสาลี แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังกรุงกบิลพัศดุ์ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้  แล้วไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคาม ก็ไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์.


*จอบที่ตก


---
ต้องพระเจดีย์ ก็หักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังเมืองอัลลกัปปะเวฏฐทีปะ ปาวา กุสินารา ในที่ทุกแห่งดั่งกล่าว  มานี้ รื้อพระเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดี  ดั่งเดิมแล้ว ก็กลับไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่า  ใครเคยได้ยินว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ ในที่ชื่อโน้น มีบ้างไหม.


*ในที่ประชุมนั้น


---พระเถระรูปหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า อาตมาภาพก็ไม่รู้ว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ  อยู่ที่โน้น แต่พระมหาเถระบิดาอาตมภาพ ให้อาตมภาพครั้งอายุ ๗ ขวบ  ถือหีบมาลัย กล่าวว่า มานี่ สามเณร ระหว่างกอไม้ตรงโน้น มีสถูปหินอยู่  เราไปกันที่นั้นเถิด แล้วไปบูชา ท่านพูดว่า สามเณร ควรพิจารณาที่ตรงนี้.


---ถวายพระพร อาตมภาพรู้เท่านี้ พระราชาตรัสว่า ที่นั่นแหละ แล้วสั่งให้ตัด  กอไม้ แล้วนำสถูปหินและฝุ่นออก ก็ทรงเห็นพื้นโบกปูนอยู่ แต่นั้นทรงทำลาย  ปูนโบกและแผ่นอิฐแล้วเสด็จสู่บริเวณตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ  ๗ ประการ และรูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือดาบ เดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้  เหล่าคนผู้ถือผีมา แม้ให้ทำการเซ่นสรวงแล้ว ก็ไม่เห็นที่สุดโต่งสุดยอดเลย  จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลายแล้วตรัสว่า ข้าพเจ้ารับพระบรมธาตุเหล่านี้แล้ว  บรรจุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร จะทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่  ข้าพเจ้าเลย.



---
ท้าวสักกะเทวราช เสด็จจาริกไปทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียก  วิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอ๋ย พระธรรมราชาอโศก จักทรงนำพระบรมธาตุไป เพราะฉะนั้น เจ้าจงลงสู่บริเวณไปทำลายรูปไม้ (หุ่นยนต์) เสีย วิสสุกรรม  เทพบุตรนั้น ก็แปลงเพศเป็นเด็กชาวบ้านไว้จุก ๕ แหยม ยืนถือธนูตรง  พระพักตร์ของพระราชาแล้ว ทูลว่า ข้าจะนำไป มหาราชเจ้า.


---พระราชาตรัสว่า  นำไปสิพ่อ.


---วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงตรงที่ผูกหุ่นยนต์นั้นแล ทำให้ทุกอย่าง กระจัดกระจายไป.

 

---ครั้งนั้น พระราชาทรงถือตรากุญแจ ที่ติดอยู่ที่เชือกผูก  ทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณีและเห็นอักษรจารึกว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนถือเอาแก้วมณีแท่งนี้แล้ว จงทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลาย  ทรงกริ้วว่า ไม่ควรพูดหมิ่นพระราชาเช่นเราว่า เจ้าแผ่นดินยากจน ดังนี้แล้ว  ทรงเคาะซ้ำ ๆ กันให้เปิดประตู เสด็จเข้าไปภายในเรือนประทีปที่ตามไว้ เมื่อ  ๒๑๘ ปี ก็โพลงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ขณะนั้นเอง เครื่องลาดดอกไม้ก็เหมือนลาดไว้ขณะนั้นเอง เครื่องหอมก็เหมือนเขาบด  วางไว้เมื่อครู่นี้เอง.


---พระราชาทรงถือแผ่นทอง ทรงอ่านว่า ต่อไปในอนาคตกาล ครั้งกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชาพระนามว่า อโศก ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย ดังนี้ แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสปเถระเห็นตัวเราแล้ว ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบกับพระหัตถ์ขวา.

 

---ท้าวเธอเว้นเพียงพระบรมธาตุที่ปกปิดไว้ในที่นั้น ทรงทำพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมดมาแล้ว ปิดเรือนพระบรมธาตุไว้เหมือนอย่างเดิม ทรงทำที่ทุกแห่งเป็นปกติอย่างเก่าแล้ว โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ไว้ข้างบน บรรจุพระบรมธาตุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารทรงไหว้พระมหาเถระแล้ว ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้า โยมเป็นทายาทในพระพุทธศาสนาได้ไหม  พระมหาเถระทูลว่า ถวายพระพร มหาบพิตรยังเป็นคนภายนอกของพระศาสนา จะเป็นทายาทของอะไรเล่า.


---ตรัสถามว่า ก็โยมบริจาคทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ให้สร้างวิหารไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ วิหาร ยังไม่เป็นทายาทคนอื่นใครเล่าจะเป็นทายาท.


---พูดว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ได้ชื่อว่าเป็นปัจจยทายก ก็ผู้ใดบวชบุตรหรือธิดาของตน ผู้นี้จึงจะชื่อว่า เป็นทายาทของพระศาสนา.


---ท้าวเธอจึงให้บวชพระโอรสและพระธิดา.


---ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายทูลพระองค์ว่า ขอถวายพระพร บัดนี้ มหาบพิตรเป็นทายาทในพระศาสนาแล้ว.



(
จาก เล่ม ๑๓ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า ๔๖๕-๔๗๐ ปฐมสมันตาปาสาทิกาแปล)



---
พระพุทธเจ้า ก็เล็งเห็น พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ที่เป็นประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ล่วงหน้า ดังในพระอรรถกถา บันทึกไว้ว่า..



---
พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นพระโมคคัลลีบุตรล่วงหน้า หลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อเราปรินิพพานล่วงไป ๒๑๘ ปี พระเถระชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสะ จะนั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพันประมวล  พระสูตรมาพันหนึ่ง คือ พระสูตร ๕๐๐ สูตร ในฝ่ายสกวาที พระสูตร ๕๐๐  สูตรในฝ่ายปรวาที แล้วจักจำแนกกถาวัตถุปกรณ์ประมาณเท่ากับทีฆนิกาย  แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระ เมื่อจะแสดงปกรณ์นี้ มิได้แสดงด้วยญาณของตน แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่พระศาสดาประทาน ดังนั้น ปกรณ์นี้  ทั้งสิ้น จึงชื่อว่าพุทธภาษิตเหมือนกัน เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้  โดยนัยที่พระศาสดาประทาน เหมือนมธุปิณฑิกสูตรเป็นต้น.



(จาก เล่ม ๗๕ อรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณีปกรณ์ หน้า ๑๕)



---แต่ ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ศึกษาประวัติพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่เขาเชื่อว่า คือ "พระเจ้าอโศก" นั้น กลับประสูติ หลัง พ.ศ. ๒๑๘ ซึ่งเป็นที่ขึ้นครองราชย์ ตามที่บันทึกไว้ในพระอรรถกถา คือ ประสูติ 302 BC หรือ พ.ศ. 240 ครองราชย์ 273 BC หรือ พ.ศ. 270 ตามประวัติย่อ จาก Wikipedia นี้  "มหาปรินิพพานสูตร"

 

---ประวัติสำคัญที่ปรากฏใน "มหาปรินิพพานสูตร" หลังจากถวายเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านโทณพราหมณ์ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ทะนาน ถวายให้เหล่ากษัตริย์ทั้งหลายไปสักการบูชาตามเมืองต่างๆ ดังนี้



---๑.พระเจ้าชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์


---๒.พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวสาลี


---๓.พวกกษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์


---๔.พวกกษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ


---๕.พวกกษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองรามคาม


---๖.พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ


---๗.พวกเจ้ามัลละ เมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองปาวา


---๘.พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา


---๙.โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและการฉลอง "ตุมพะ" (ทะนานตวงพระบรมธาตุ)


---๑๐.พวกกษัตริย์โมริยะเมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง "พระอังคาร" ในเมืองปิปผลิวัน ฯ


---พระสถูปบรรจุพระสรีระมี ๘ แห่ง เป็น ๙ แห่ง ทั้งสถูปบรรจุทะนาน และเป็น ๑๐ แห่งทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและ การก่อพระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ


---พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ๘ ทะนานนั้น ๗ ทะนานบูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ประเสริฐอันสูงสุด พวกนาคราช บูชากันอยู่ในรามคาม


---พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดาชาวไตรทิพย์ บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในคันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่ง พญานาคบูชากันอยู่ ฯ


---ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งแก้ว ประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่า อันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลายจงประนม มือถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ


---ในหนังสือพระบรมสารีริกธาตุ (Buddha Relics) โดยมูลนิธิ พระบรมธาตุ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้กล่าวไว้ว่า มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ ๗ องค์ ที่ไม่แตกทำลายเป็นเม็ดเล็กเม็ดน้อย และมีผู้นำไปประดิษฐานไว้ในที่ต่างๆ คือ



---1.พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา๑ และพระรากขวัญเบื้องขวา๑ ประดิษฐานอยู่ที่พระจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก.


---2.พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา๑ ปัจจุบันอยู่ที่ประเทศศรีลังกา (เมืองแคนดี้)


---3.พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย๑ ประดิษฐานอยู่ในภพของพญานาค


---4.พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย๑ ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ (ปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ประเทศจีน)


---5.พระรากขวัญเบื้องซ้าย๑ และพระอุณหิส๑ ประดิษฐานในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก.


---6.พระทนต์ ๓๖ องค์ พระโลมา พระนขา เทพยดาในหมื่นจักรวาล นำไปบูชาจักรวาลละองค์.



*ธาตุอันตรธาน


---"ธาตุอันตรธาน" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พระบรมธาตุนิพพาน" และคำว่านิพพานในที่นี้ มีอยู่ ๓ ประการ คือ


---1.กิเลสนิพพาน   คือ   การตรัสรู้ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์


---2.ขันธนิพพาน   คือ   การดับแห่งเบญจขันธ์ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา


---3.ธาตุนิพพาน   คือ   พระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้นไปจากโลก ซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต


---การนิพพานแห่งพระบรมธาตุทั้งหลายนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ไม่มีผู้สักการะบูชา พระบรมธาตุในที่นั้นก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่มีคนเคารพสักการะบูชา จวบจนวาระสุดท้ายมาถึง ทั่วทุกถิ่นประเทศ หาผู้สักการะบูชาไม่มีเลย.


---เมื่อนั้น พระบรมธาตุทั้งหมด ทั้งจากมนุสโลก เทวโลกและนาคพิภพ จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ แล้วรวมกันเป็นรูปพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐาน ณ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ประหนึ่งว่า พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น แต่ในครั้งนี้ มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย จะไม่มีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย.


*สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช


---ต่อมาสมัยเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เมื่อเสร็จจากการทำสังคายนา (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕) เหมือนว่าเป็นปฏิสังขรณ์ศาสนาครั้งยิ่งใหญ่แล้ว ก็ทรงตั้งพระทัยต่อศาสนวัตถุที่กำลังเสื่อมโทรม โดยเฉพาะสถูป ๘ แห่งที่ประดิษฐานพระบรมพระธาตุ ที่ได้รับมอบจากกษัตริย์แห่งกุสินารา โปรดให้เที่ยวค้นหาพระบรมสารีริกธาตุตามเมืองต่าง ๆ


---ในตอนนี้ หลวงจีนที่จาริกไปถึงอินเดียได้เล่าว่า พระเจ้าอโศกเสด็จมาถึง รามคาม ด้วยพระองค์เอง และเตรียมการจะขุดสถูป พญานาคราช ซึ่งเฝ้าสถูปอยู่ได้แปลงร่างเป็นพราหมณ์ ขอร้องให้พระองค์อย่าขุดทำลายสถูปนี้เลย เพราะเป็นของสำคัญในชีวิตของนาค พระสถูปทั้ง ๗ จึงถูกขุดบูรณะเสียใหม่ จัดให้มีการบูรณะเสียใหม่ และสร้างเพิ่มอีก ๘๔,๐๐๐ องค์ นำพระบรมสารีริกธาตุแจกจ่ายไปบรรจุโดยทั่ว และนำไปบรรจุไว้ที่สถูปของพระองค์ ในเมืองปาตลีบุตรด้วย


---ในบรรดาเจดีย์ที่ขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุนั้น จึงยกเว้นสถูปที่ รามคาม แห่ง นี้เท่านั้น เพราะเหตุว่าพระเจ้าอโศกได้รับการแสดงความเป็นเจ้าของผู้ดูแลจาก "นาคราชา" พร้อมด้วยบริวาร ถวายการอารักขาพระบรมธาตุอย่างมั่นคงอยู่แล้วนั่นเอง (แต่ในประวัติบางแห่งเล่าว่า พระสถูปที่เมืองรามคามนั้นตั้งอยู่ริมตลิ่ง ต่อมาได้เกิดน้ำเซาะพังลงไปในน้ำ พญานาคราชจึงได้อัญเชิญไปบูชาไว้ที่นาคพิภพ)


---(หมายเหตุ กษัตริย์โกลิยะ รามคาม นครหลวงของแคว้นโกลิยะ บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล เป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง อันเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ชาวเทวทหะได้รับส่วนแบ่งมาแต่เมื่อครั้งถวายพระ เพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ที่กุสินารา เป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์ที่ ๘ ที่ยังไม่เคยมีใครพบ ฉันรู้เพียงว่าพระธาตุเจดีย์นั้นประดิษฐานอยู่ที่เมืองรามคาม ซึ่งเป็นชื่อของกรุงเทวทหะในอดีต นี่เป็นบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ได้เคยไปสำรวจมาแล้ว)


*สุมนสามเณร ไปอัญเชิญพระบรมธาตุจากนาคพิภพ


---ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเช่นกัน พระองค์ได้ส่งพระโอรสและพระธิดา ซึ่งได้ทรงออกผนวชในพระพุทธศาสนา คือ พระมหินทเถระ และ พระนางสังฆมิตตาเถรี เดินทางไปประกาศพระศาสนาที่ เกาะลังกา ในคราวนั้นมีเรื่องเล่าว่า พระบรมสารีริกธาตุใน "รามคาม" ที่พระมหินทเถระใช้ให้ สุมนสามเณร ผู้เป็นหลาน (เป็นพระอรหันต์ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ) ไปนำมาจาก นาคพิภพ อีกทั้งเหาะขึ้นไปขอ พระรากขวัญเบื้องขวา มาจากท้าวสักกเทวราชด้วย


---ในตอนนี้ จะต้องขอเล่าย้อนตอนเนื้อความที่กล่าวถึงการบรรจุพระบรมธาตุของ พระเจ้าอชาตศัตรู ณ กรุงราชคฤห์ ซึ่งประธานฝ่ายสงฆ์ คือ พระมหากัสสปเถระ ได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุที่ถูกแบ่งคราวนั้นไปตามเมืองต่างๆ ทั้ง ๗ แห่ง (เว้นเมืองรามคาม) ให้เสด็จมารวมกันในพระสถูป ณ กรุงราชคฤห์


---พระมหาเถระดำริว่า เพราะเหตุการณ์ต่อไปในอนาคต พระบรมธาตุทั้งหลายใน รามคาม ที่เหล่าพญานาคเก็บรักษาไว้ อันตรายของพระบรมธาตุเหล่านั้นไม่มี และต่อไปในอนาคตกาล คนทั้งหลายจักอัญเชิญไปบรรจุไว้ใน พระมหาเจดีย์ ในมหาวิหาร ลังกาทวีป ดังนี้ แล้วจึงไม่นำพระบรมธาตุเหล่านั้นมา.


---สรุปได้ว่า สุมนสามเณร ได้ขึ้นไปขอ พระรากขวัญเบื้องขวา มา จากพระอินทร์ แสดงว่า "พระรากขวัญเบื้องขวา" ที่กล่าวไว้ในตอนต้นๆ ว่าอยู่ที่ดาวดึงสเทวโลกนั้น บัดนี้ ได้มาประดิษฐานอยู่ในมนุษยโลกแล้ว เพราะพระอินทร์ได้มอบให้สามเณรมาแล้ว ที่ดาวดึงส์ยังเหลือแต่ พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา เท่านั้น (และพระเมาฬีที่ตัดในวันผนวช)


---นอกจากพระรากขวัญเบื้องขวาแล้ว สุมนสามเณรยังได้พระบรมธาตุอีกส่วนหนึ่งมาจากพระเจ้าอโศกมหาราช.


---และอีกส่วนหนึ่งมาจาก นาคพิภพ ในรามคาม สายทางแห่งพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ เคลื่อนย้ายสถานที่ไป เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนาในโลก เป็นอันทำกิจในส่วนของตนๆ สำเร็จแล้วทั้งนี้ คงแล้วแต่ความเหมาะสม หรือแล้วแต่กาลเวลาที่พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ถึงเวลาอันสมควรที่จะประดิษฐานอยู่ที่ใด เพื่อเป็นขวัญเป็นกำลังใจ และเป็นที่กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นอานิสงส์แห่ง "พระนิพพาน" สืบไป ตราบเท่าสิ้นอายุพระพุทธศาสนาครบถ้วน ๕ พันปี


---ความหมายของ คำว่า "ธาตุ"ตามตัวอักษรแปลว่า ผู้ทรงไว้/ทรงอยู่ สิ่งซึ่งทรงไว้/ทรงอยู่ ภาวะที่ทรงไว้/ทรงอยู่ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่คู่โลก ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ไม่สูญสลายไปไหน แต่อาจจะเปลี่ยนรูปขนาดสีสันไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป หรือเมื่อเปลี่ยนสถานที่ ธาตุเป็นสิ่งที่มอยู่จริงโดยไม่ต้องการมีการพิสูจน์ นี่คือความหมายของคำว่า "ธาตุ"โดยทั่วไป ในพระพุทธศาสนานิยมใช้คำนี้มาก เช่น โลกธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นของโลก นิพพานธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของนิพพาน กามธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของภพภูมิของสัตว์ผู้เสพเสวยกาม คือพวกที่เสวยกามคุณ เช่นโลกมนุษย์ รูปธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของภพภูมิเทวดาชั้นรูปพรหม อรูปธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของภพภูมิของเทวดาชั้นอรูปพรหม อปริยาปันนธาตุ หมายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของภพภูมิที่เหนือขึ้นไป (โลกุตตรภูมิ)



---"ธาตุ" ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานิยมหมายถึงธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ(ธาตุลม) ถือเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ตัวมนุษย์(คน)และสัตว์มีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ ๕ คือ รูป(ธาตุหรือมหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกย่อ ๆ รูปนาม คำว่า "รูปนาม" ไม่ได้หมายถึงว่ามี ๒ อย่างคือ รูปกับนาม แต่หมายถึงรูปนาม คือเขียนติดกันไปเลย ไม่ได้แยกกัน ในรูปมีนามและในนามมีรูป เป็นอันเดียวกัน ไม่ใช่แยกกัน "ธาตุ" ๔ นี้ไม่ได้หายไปไหน มีอยู่ในโลกในจักรวาลนี้ตลอดเวลา บางทีก็ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่าง บางทีก็ไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่าง กล่าวตามภาษาวิทยาศาสตร์ก็คือ บางทีก็เป็นสสาร บางทีก็เป็นพลังงาน เปลี่ยนกลับไปกลับมา



---"ธาตุ ๔" ดังกล่าวมานั้นถือเป็นธาตุพื้นฐาน จาก "ธาตุ ๔" ก็ขยายเป็น "ธาตุ ๑๘" คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ ตาเห็นรูป เกิดการรับรู้ทางตา) โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ หูได้ยินเสียง เกิดการรับรู้ทางหู) ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ จมูกได้กลิ่น เกิดการรับรู้ทางจมูก) ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ ลิ้นลิ้มรส เกิดการรับรู้ทางลิ้น) กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ กายสัมผัสกับสิ่ง เกิดการรับรู้ทางกาย) มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ(ความจริงก็คือ ใจคิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดการรับรู้ทางใจ)



---คำว่า "ธาตุ" ในความหมายที่แคบลงมา หมายถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคน (ทั้งส่วนที่เป็นกระดูกและอวัยวะภายในอื่น)ที่เหลือจากการถูกเผา ที่เห็นชัดก็คือกระดูกของคนที่เหลือจากการถูกเผาแล้ว



---คำว่า "พระธาตุ" มีความหมายเหมือนกับคำว่า "ธาตุ" แต่มีข้อพิเศษออกไปก็คือเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคนที่บรรลุธรรม มีจิตใจบริสุทธิ์หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ซึ่งเหลือจากการถูกเผา บางทีเรียกว่า "พระอรหันตธาตุ" พระสาวก สาวิกาของพระพุทธเจ้า(หมายรวมถึง พระปัจเจกพุทธเจ้า และอุบาสก อุบาสิกาผู้เป็นอรหันต์ด้วย)


---คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" หมายถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า(พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) คำว่า "พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ" นี้ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Relic" ซึ่งตรงกับภาษาลาตินว่า "Reliquiae" แปลว่า ส่วนที่เหลืออยู่(Remains) เผ่าชนทั้งหลายในอดีตถือว่า กระดูกคนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลัทธิถือผีสางเทวดา(Shamanism)นิยมเก็บกระดูกคนไว้ ประเพณีนิยมในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะในยุคของพระพุทธเจ้าองค์ไหน นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรมาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม การเก็บกระดูก (อัฐิ หรือเป็นกระดูกของคนบริสุทธิ์ก็นิยมเรียกว่า พระธาตุบ้าง พระสารีริกธาตุบ้าง พระบรมสารีริกธาตุบ้าง)ไว้บูชาสักการะปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้น ก็จะมีข้อความในคัมภีร์กล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเครื่องระลึกถึงพระ พุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้ว ๔ อย่าง คือ 


---๑.ธาตุเจดีย์ คือ พระบรมสารีริกธาตุ


---๒.บริโภคเจดีย์ คือ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล



---๓.ธรรมเจดีย์ คือ จารึกข้อพระธรรม



---๔.อุเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป ธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระแท่นวัชรอาสน์ หรือสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า



---สรุป ได้ในที่นี้ว่า สิ่งที่ควรบูชาสักการะสูงสุดของชาวพุทธคือเจดีย์ ๔ ประเภทดังกล่าว โดยเฉพาะธาตุเจดีย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง การหายไปของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุเป็นเครื่องแสดงถึงความเสื่อมของ ศาสนาอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ธาตุอันตรธาน" แต่การหายไปของธาตุที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงว่าพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ นั้นหายไปจากโลกนี้ เป็นเพียงการหายไปจากที่หนึ่งที่คนไม่นิยมปฏิบัติธรรมแล้วไปปรากฏในอีกที่ หนึ่งที่คนนิยมปฏิบัติธรรม หรืออาจไม่ปรากฏในที่ไหนเลยจนกว่าจะมีคนปฏิบัติธรรม จึงจะปรากฏให้เห็น เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไม่มีการบูชาสักการะพระบรม สารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ ตำนานบอกว่า ถ้าทั่วทุกหนทุกแห่งไม่มีผู้บูชาสักการะเลย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายจากมนุษยโลก เทวโลก และภพพญานาค จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด รวมกันเป็นรูปพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐาน ณ โคนต้นพระมหาโพธิ์นั้น ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ แต่ไม่มีมนุษย์คนใดหรือสัตว์โลกตนใดเห็นพระองค์เลย



---เพราะ ฉะนั้น คำว่า "ธาตุอันตรธาน" ไม่ได้หมายถึงว่า ธาตุสูญสิ้นไปจากโลก แต่หมายถึงหายไปไม่ปรากฏให้เห็น พระพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระอานนท์คราวหนึ่งว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม" ถ้าจะอธิบายในอีกลักษณะหนึ่งก็ได้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญคุณความดี มีคุณธรรมประจำใจ ก็จะเห็นพระพุทธเจ้า คำว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" มี ๒ นัย



---นัยที่ ๑ หมายถึงว่า ขณะที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ คนที่อยู่ห่างไกลประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ได้ แต่ให้ผู้นั้นปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา พระพุทธเจ้าก็จะเปล่งรัศมีมี ๖ สีไปแสดงพระองค์ปรากฏต่อหน้าผู้นั้น นี่คือนัยของคำว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"



---นัยที่ ๒ หมายถึงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว(ปรินิพพาน=ตาย) ผู้ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้า ขอให้อธิษฐานจิตบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กล่าวคำอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา ณ ภาชนะหรือสถานที่เหมาะสมซึ่งจัดเตรียมเอาไว้ เมื่อทำความดีถึงขั้น พระบรมสารีริกธาตุก็จะเสด็จมาตามที่ปรารถนา



---ลักษณะ สี สัณฐาน และขนาดของพระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุมีหลากหลาย มีลักษณะเป็นมันเลื่อมสีต่าง ๆ มีสีทองอุไรบ้าง สีขาวใสดังแก้วผลึกบ้าง สีดอกพิกุลแห้งบ้าง มีสัณฐานต่าง ๆ เช่น กลม ยาวรี เสิ้ยว เป็นเหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วหัก ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะและสัณฐานหลากหลายตามที่กล่าในตำรา โบราณ พอกล่าวไว้เป็นตัวอย่างดังนี้


---พระธาตุของพระสารีบุตร สัณฐานกลมเป็นมณฑล บ้างรีเป็นไข่จิ้งจก บ้างดังรูปบาตรคว่ำ บ้างพรรณขาวดังสีสังข์ สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า



---พระ ธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐานกลมเป็นปริมณฑลอย่างหนึ่ง รีเป็นผลมะตูม และเมล็ดทางหลางก็มี และเมล็ดสวาก็มี เป็นสีดำ หรือขาว หรือเขียว หรือเหลือเหมือนหวายตะค้า ลายดังไข่นก หรือร้าวเป็นสายเลือด



---พระธาตุของพระอานนท์ สัณฐานดังใบบัวเผื่อน พรรณดังสีดอกพิกุล พรรณดำดังน้ำรัก หรือขาวสะอาดดังสีเงิน



---พระธาตุของพระอุบลวรรณาเถรี สัณฐานงอกดังกระดูกสันหลังงู มีรูทะลุกลาง พรรณเหลืองดังเกสรบัว


---พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า) ขนาดใหญ่ ประมาณเท่าเมล็ดถั่วหัก จำนวน ๕ ทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร



---พระ บรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า) ขนาดกลาง ประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก จำนวน ๕ ทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย



---พระ บรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า) ขนาดกลาง ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จำนวน ๖ ทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณดอกบุปผชาติพิกุลอดุลสีใส



---ความ หลากหลายด้านลักษณะ สี สัณฐานของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ อาจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สภาพทางกาย ลักษณะพิเศษทางจิตของพระอรหันต์หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ หรือปฏิกิริยาทางเคมีอย่างอื่น นอกจากนี้ น่าจะเกี่ยวเนื่องกับอายุของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุแต่ละองค์ด้วย ซึ่งบางองค์อาจมีอายุเป็นหมื่นชาติแสนชาติ ในคัมภีร์เถรวาทกล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังคงสถิตอยู่ในโลก ไม่รวมพระธาต(หรือพระอรหันตธาตุ)ของพระสาวก สาวิกาซึ่งมีจำนวนมาก




---๑.พระบรมสารีริกธาตุไม่แตกกระจาย พระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจายมี ๗ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ และพระอุณหิสหรือส่วนพระนลาฏ ๑ คำว่า "ไม่แตกกระจาย"หมายถึงยังความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง หรือเป็นกลุ่มก้อนสมบูรณ์ ไม่มีส่วนไหนหักบิ่นไป กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเา พระเขี้ยวแก้วเป็นต้นนี้มีรูปร่างอย่างใด หลังจากร่างถูกเผาแล้ว พระเขี้ยวแก้วนี้ก็ยังมีรูปร่างอย่างนั้น



---๒.พระบรมสารีริกธาตุแตกกระจาย พระบรมสารีริกธาตุที่แตกกระจาย คือ ส่วนอื่นนอกเหนือจาก ๗ ส่วนที่กล่าวไว้ในในข้อ ๑ จะไม่เหลือส่วนที่เด่นชัด ขนาดเล็กสุดเท่าเมล็ดพรรณผักกาด ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเหลือง คำว่า "แตกกระจาย" หมายถึง ไม่มีความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง หรือเป็นกลุ่มก้อนเหมือนเดิม มีบางส่วนหักบิ่นไป กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเผา พระธาตุนี้มีรูปร่างสมบูรณ์ แต่หลังจากร่างถูกเผาแล้ว ก็สูญเสียความสมบูรณ์ไป



*มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์


---ตั้งแต่สมัยที่โทณพราหมณ์แจกจ่าย รวมทั้งสิ้น ๑๐ แห่ง คือ



---๑.กษัตริย์ลิจฉวี  ทรงสร้าง ที่เมืองเวสาลี


---๒.กษัตริย์ศากยะ  ทรงสร้าง ที่เมืองกบิลพัสดุ์


---๓.กษัตริย์ถูลิยะ  ทรงสร้าง ที่เมืองอัลลกัปปะ


---๔.กษัตริย์โกลิยะ  ทรงสร้าง ที่เมืองรามคาม


---๕.มหาพราหมณ์  สร้าง ที่เมืองเวฏฐทีปกะ


---๖.กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา  ทรงสร้าง ที่เมืองปาวา


---๗.พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้าง  ที่เมืองราชคฤห์


---๘.มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้าง  ที่เมืองกุสินารา


---๙.กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร(อังคารสถูป)ที่เมืองปิปผลิวัน


---๑๐.โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า "ตุมพะ" แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกว่าสถูปนี้ว่า "ตุมพสถูป")



*ในขณะเดียวกัน ในคัมภีร์ก็มีการกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจาย ๗ ประเภทไว้ด้วย คือ



---๑.พระเขี้ยวแก้ว บน ด้าน ขวา (บน+-ขวา)ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


---๒.พระเขี้ยวแก้ว บน ด้าน ซ้าย (บน+ซ้าย)ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดหลิงกวง ประเทศจีน)


---๓.พระเขี้ยวแก้ว ล่าง ด้าน ขวา (ล่าง+ขวา)ประดิษฐาน ณ แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา)


---๔.พระเขี้ยวแก้ว ล่าง ด้าน ซ้าย (ล่าง+ซ้าย)ประดิษฐานอยู่ในภพของพญานาค


---๕.พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)ด้านซ้ายและพระอุณหิส(หน้าผาก) ประดิษฐอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก


---๖.พระรากขวัญด้านขวา ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


---๗.พระทนต์ ๓๖ ซี่ พระโลมา(ขน)ทั่วพระวรกาย(๙๐,๐๐๐ เส้น) และพระนขา(เล็บ)ทั้ง ๒๐ เทพยดาในหมื่นจักรวาลนำไปบูชาในจักรวาลของตน  พระมหากัสสปะและพระเจ้าอชาตศัตรูรวมพระบรมสารีริกธาตุ



---เมื่อกษัตริย์/เจ้าผู้ครองนครได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในเจดีย์ ณ เมืองของตนแล้ว พระมหากัสสปะเห็นว่าในอนาคต คนจะไม่เอาใจใส่บูชาสักการะ เป็นเหตุให้พระบรมสารีริกธาตุหายไป ไม่ปรากฏให้คนเห็น (คงไม่ได้หมายถึงว่าจะเกิดอันตรายแก่พระบรมสารีริกธาตุตามที่หมายความกัน)และจะทำให้ชาวโลกไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูล



---พระมหากัสสปะได้ถวายคำ แนะนำแด่พระเจ้าอชาตศัตรูให้ประกอบพิธี "ธาตุนิทาน" คือการฝังพระธาตุ ตำนานบอกว่า ใน พ.ศ. ๘ พระมหากัสสปะใช้อิทธิฤทธิ์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองต่าง ๆ (ยกเว้นจากเมืองรามคาม)มายังเมืองกรุงราชคฤห์ โดยที่กษัตริย์/เจ้าครองนครไม่ทราบ



---พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีพระบัญชา ให้ขุดหลุมลึก ๘๐ ศอก ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้(ทิศอาคเนย์)ของกรุงราชคฤห์ เอาแผ่นโลหะปูข้างล่าง สร้างเรือนขนาดเล็กด้วยทองแดง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในกล่องไม้จันทน์เหลืองซ้อนกัน ๘ ชั้นแล้วบรรจุลงในสถูปไม้จันทน์เหลืองซ้อนกัน ๘ ชั้น แล้วบรรจุลงในกล่องงา ๘ ชั้น บรรจุซ้อนลงในสถูปงา ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องแก้ว ๘ ชั้น บรรจุซ้อนลงในสถูปแก้ว ๘ บรรจุลงในกล่องทองคำ ๘ ชั้น บรรจุซ้อนลงในสถูปทองคำ ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องเงิน ๘ บรรจุซ้อนลงในสถูปเงิน ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องแก้วมณี ๘ บรรซ้อนจุลงในสถูปแก้วมณี ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องแก้วแดง ๘ บรรจุซ้อนลงในสถูปแก้วแดง ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องแก้วลาย ๘ ชั้น บรรจุซ้อนลงในสถูปแก้วลาย ๘ ชั้น บรรจุลงในกล่องแก้วผลึก ๘ ชั้น บรรจุซ้อนลงในสถูปแก้วผลึก ๘ ชั้น สถูปแก้วผลึกนี้จะเป็นสถูปชั้นนอก มีการจารึกข้อความไว้ว่า "ในข้างหน้าโน้น เมื่อใด ปิยทาสกุมารได้เสวยราชย์ เป็นพระเจ้าอโศกธรรมราชา เมื่อนั้น พระองค์จักกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย"




---ครั้นถึง พ.ศ. ๒๑๘ พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ ต่อมาได้พบสามเณรนิโครธ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์พระโมคคัลลีบุตรติสสะให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๓ พระองค์เองเสด็จจาริกกราบไหว้บูชาสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา รับสั่งให้สร้างสถูป ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร สันนิษฐาน แม้ในคราวส่งสมณทูต ๙ สายออกไปประกาศพระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปด้วยทุกสาย ทำให้พระบรมสารีริกธาตุกระจายไปในนานาประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา การส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นเหตุทำให้พระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุกระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ



---สาเหตุ ประการต่อมาที่ทำให้พระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุกระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ คือ พวกพ่อค้านานาชาติ ของฝากของขวัญ(เครื่องบรรณาการ)เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่นิยมไปให้กันในหมู่ นักปกครองและพ่อค้าวาณิชในสมัยโบราณก็คือ (๑) คัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒)พระพุทธรูป/พระสถูปเจดีย์ขนาด (๓)พระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุ และ (๔)พระธาตุเขี้ยวแก้ว.







..............................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

 อัพเดทรอบที่  วันที่ 26 สิงหาคม 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« January 2025»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท12/01/2025
ผู้เข้าชม8,443,818
เปิดเพจ12,868,753
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view