/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

อานิสงส์บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ=คลิป

อานิสงส์บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ=คลิป

บุญกิริยาวัตถุ 10 ว่าด้วย เรื่องการทำบุญ







---บุญกิริยาวัตถุ (อรรถกถา เล่มที่ 75 หน้า 427) หมายถึง การกระทำที่เป็นบุญ มีอยู่ 10 อย่าง โดยแบ่งเป็น 3 หมวด คือ หมวดทาน หมวดศีล หมวดภาวนา บุญกิริยาวัตถุ 3


*หมวดทาน


---1.การทำทาน (ทานมัย)


---2.การอุทิศบุญกุศลให้ผู้อื่น (ปัตติทานมัย)


---3.การยินดีในความดีของผู้อื่นหรืออนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) หมวดศีล


---4.การรักษาศีล (สีลมัย)


---5.มีความอ่อนน้อมต่อผู้อื่น (อปจายนมัย)


---6.ช่วยเหลือขวนขวายในกิจที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) หมวดภาวนา


---7.การฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย)


---8.การแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย)


---9.การภาวนา (ภาวนามัย) หมวดที่เข้าได้กับทุกหมวด


---10.การทำความคิดเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์) รายละเอียดเกึ่ยวกับการทำบุญทั้ง 10 อย่าง

 

*1.บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน



---ทาน คือ การให้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ



*1.อามิสทาน


---หมายถึง การให้ทานด้วยวัตถุที่เป็นของนอกกาย เช่น เงิน สิ่งของ หรือของในกาย เช่น การบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ ซึ่งผลบุญที่ได้นั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 อย่าง (พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 ข้อ 719)



---1.1.ผู้ให้ทานมีความบริสุทธิ์ หมายถึง หากเราเป็นคนที่ไม่ถือศีลเลย เวลาเราทำทาน เราก็จะได้บุญน้อย หากเราเป็นคนที่ถือศีล เราก็จะได้บุญมากขึ้น ยิ่งศีลของเรามากขึ้น เราก็จะยิ่งได้บุญมากขึ้นด้วย



---1.2.วัตถุที่ให้มีความบริสุทธ์ คือ วัตถุทานได้มาโดยชอบ ไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ขโมยมา หรือ แย่งมา หรือฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ เป็นต้น



---1.3.เจตนาของผู้ให้บริสุทธิ์ หากเราให้ทานด้วยความรู้สึกบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ทั้งก่อนให้ ก็มีความสุขที่จะได้ให้ ขณะให้ก็มีความสุขใจ และหลังจากให้แล้วเมื่อนึกถึงที่ได้ทำไปก็รู้สึกสุขใจ จิตจะตั้งอยู่บนความเบิกบานแจ่มใส เราย่อมได้รับผลบุญสูงกว่าให้โดยหวังผลประโยชน์บางอย่างตอบแทน ให้เพราะอยากได้หน้า ให้ไปแล้วรู้สึกเสียดายทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ไปแล้ว จิตของเราจะตั้งอยู่บนความเศร้าหมอง ขุ่นมัว ผลบุญย่อมลดลง


---เรื่องของเจตนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก และสร้างความแตกต่างในบุญได้มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ เจตนาที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์กับเจตนาที่บริสุทธิ์มากๆ จะสามารถให้ ผลบุญที่แตกต่างกันเป็นล้านๆ เท่า ในทานสูตร จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ข้อที่ 49 พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรไว้  สรุปใจความได้ดังนี้



---ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวย ผลทานนี้ เขาผู้นั้น ให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช


---ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไป  แล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้น ให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ 


---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่าตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา


---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต


---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี


---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือข้าว ฯลฯ  ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี


---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม


---ดังนั้น ในการให้ทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรทำจิตทำใจในการให้ทาน คือ ให้เพื่อละความตระหนี่ในใจ ให้เพื่อละกิเลส คือ ความโลภ ให้เพราะต้องการสงเคราะห์และให้เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้ครบห้าพันปี ไม่ใช่ให้ทานเพราะหวังรวย อย่างนี้ได้อานิสงส์น้อย



---1.4.ผู้รับมีความบริสุทธิ์ จริงๆ แล้ว การให้ทานกับใครก็ตาม แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ขอทาน หรือ คนชั่ว หากเราให้ด้วยใจบริสุทธิ์ อยากช่วยเหลือ เราก็ได้บุญทั้งหมด เพียงแต่ว่า ปริมาณของบุญที่ได้จะไม่เท่ากัน หรือที่เราคงเคยได้ยินเรื่อง เนื้อนาบุญ เปรียบดัง การหว่านเมล็ดข้าว หากหว่านลงนาดี ย่อมได้ผลผลิตมาก แต่หากหว่านลงไปบนพื้นคอนกรีตก็คงไม่ได้อะไร 


---พระพุทธองค์ได้เปรียบเทียบ ปริมาณบุญ ที่เราได้จากทำบุญให้บุคคลที่แตกต่างกัน (พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 ข้อ 711 และ เล่มที่ 23 ข้อ 224)  ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ยิ่งเราทำบุญกับผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์มากกว่า เราจะได้รับบุญมากกว่า  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จะขอสมมติเป็นหน่วย ดังนี้

 

---ทำบุญกับสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญ 100 หน่วย


---ทำบุญกับคนไม่มีศีล ได้บุญ 1,000 หน่วย


---ทำบุญกับคนมีศีล ๕ ได้บุญ 10,000 หน่วย


---ทำบุญกับคนมีศีลอุโบสถ ได้บุญ 100,000 หน่วย


---ทำบุญกับสมมติสงฆ์ (พระที่ถือศีลครบ 227 ข้อ) ได้บุญ 1,000,000 หน่วย


---ทำบุญกับพระโสดาบัน ได้บุญ 100 ล้านหน่วย


---ทำบุญกับพระสกิทาคามี ได้บุญ 10,000 ล้านหน่วย


---ทำบุญกับพระอนาคามี ได้บุญ 1,000,000 ล้านหน่วย


---ทำบุญกับพระอรหันต์ ได้บุญ 100,000,000 ล้านหน่วย


---ทำบุญกับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า 10,000,000,000 ล้านหน่วย


---ทำบุญกับพระพุทธเจ้า ได้บุญ 1,000,000,000,000 ล้านหน่วย


---ทำบุญสังฆทานกับคณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับพระพุทธเจ้า 100 เท่า


---ทำบุญสร้างวิหารทาน ได้บุญมากกว่า ทำบุญสังฆทานกับคณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน 100 เท่า

 

*2.ธรรมทาน


---การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธพจน์  “สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ” อานิสงส์การให้ธรรมเป็นทาน..พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “แม้ให้พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก นั่งเรียงกันจากโลกมนุษย์ ไปจนถึงพรมโลก แล้วถวายผ้าไตร ครบทุกองค์ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน” 


---ว่าด้วยเรื่องการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ก็เช่นกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า บุญคุณพ่อแม่ที่ให้กำเนิดเรามา มีมากมายเหลือคณานับ ต่อให้บุรุษแบกพ่อไว้ไหล่ข้างหนึ่ง อีกไหล่ข้างหนึ่งแบกแม่ไว้ ดูแลพ่อแม่ทุกอย่าง ไม่ให้ได้รับความลำบากตลอดชีวิตของท่าน แม้ทำขนาดนี้ ก็ยังใช้หนี้บุญคุณไม่หมด มีทางเดียว ที่จะใช้หนี้ท่านหมดคือ การให้ธรรมะแก่ท่าน ให้ท่านเป็นผู้เที่ยงต่อนิพพาน จึงจะถือว่า เราได้ทดแทนคุณท่านได้หมดแล้ว…



---เสริมอีกเล็กน้อย เรื่องการทำบุญกับพระอรหันต์ จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าอานิสงส์นั้นมากมาย แต่หลายคนอาจแย้งว่าจะไปทำได้ ที่ไหนเนี่ย จริงๆ เราสามารถทำบุญกับพระอรหันต์ได้ทุกวัน นั่นคือ พ่อแม่ของเรานั่นเอง เพราะพ่อแม่คือ พระอรหันต์ของลูก การทำบุญด้วยการเลี้ยงดูตอบแทนคุณท่าน ย่อมได้อานิสงส์มหาศาล ตรงกันข้าม บางคนที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่ ก็ต้องได้รับบาปมหันต์เช่นกัน เพราะเป็นการทำบาปกับพระอรหันต์ นั่นเอง…



*2.ปัตติทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการอุทิศส่วนบุญ


---ให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วและผู้อื่น การอุทิศบุญหรือแบ่งบุญให้ผู้อื่น สามารถให้ได้ทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว โดยที่ผลบุญของเราไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด  ตรงกันข้ามกลับทำให้เราได้บุญมากขึ้นไปอีก เรื่องนี้มีกล่าวในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค  ๑ – หน้าที่ 307)


---เปรียบเสมือนเวลาเราทำบุญมาเหมือนเราได้จุดคบไฟ ทีนี้เมื่อมีคนมาขอต่อไฟ เราก็ยินดีให้เขาต่อไฟ ไฟเราก็ยังอยู่ แม้จะมีคนมาขอจุดไฟ 100 คน ไฟเราก็ไม่ได้หายไปแม้แต่น้อย การอุทิศบุญนั้น ผู้ที่จะรับผลบุญต้องโมทนาบุญคือยินดีในบุญที่เราให้จึงจะได้รับบุญ ถ้าเป็นคนด้วยกันก็สามารถบอกกล่าวกันได้ โดยตรง และเทวดาก็สามารถส่งจิตถึงท่านได้ แต่สำหรับสัตว์ในอบายภูมิปกติจะไม่สามารถรับบุญจากเราได้ ยกเว้นเปรตบาง ประเภทที่เรียกว่า ปรทัตตุปชีวิกเปรต เปรตประเภทนี้อยู่ได้ด้วยการขอส่วนบุญ บางครั้งก็มาเข้าฝัน บางครั้งปรากฏตัวให้เห็น หรือ  ทำกิริยาอื่นๆ เพื่อให้คนอุทิศบุญไปให้(เป็นส่วนหนึ่งที่เราเรียกว่า ผี นั่นเอง)



---ผมเคยอ่านหนังสือรวมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ท่านกล่าวถึง สัมภเวสี ที่หมายถึงวิญญาณเร่ร่อน ที่ตายก่อนถึงอายุขัย ด้วยอุปฆาตกกรรม วิญญาณเหล่านี้จะไปเกิดตามภพภูมิอื่นๆ ยังไม่ได้ เพราะยังไม่หมดอายุขัย จึงต้องวนเวียนอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะ ครบอายุขัยจึงจะไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามแต่ผลกรรมที่ทำมา พวกสัมภเวสีนั้น มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก เพราะไม่สามารถรับบุญที่  ตัวเองเคยทำมาได้ ต้องอยู่อย่างหิวโหย พวกเขาจึงพยายามติดต่อญาติหรือคนรู้จักให้ทำบุญอุทิศไปให้ หรือที่เรานิยมเรียกว่า ผี อีก เช่นกัน แต่การอุทิศบุญให้สัมภเวสีนั้น จะต้องเฉพาะเจาะจงชื่อ จึงจะได้รับผลบุญ เวลาที่เราทำบุญแล้วอุทิศแบบรวมๆ เขาจะไม่ สามารถรับผลบุญได้ หลวงพ่อแนะนะว่า ถ้าจะทำบุญให้สัมภเวสี ให้ถวายสังฆทานพระที่ประกอบด้วยอาหารผ้าไตรและพระพุทธรูป   เพราะการถวายพระพุทธรูปจะทำให้เขามีความสว่างมาก คือ เป็นเทวดา (เทวดาเขาวัดกันที่ความสว่าง ใครสว่างมากแสดงว่ามีฤทธิ์ มีเดชมากกว่า)



*3.ปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงอนุโมทนาในส่วนบุญร่วมกับผู้อื่น


 
---แค่เรากล่าวสาธุ(หรืออนุโมทนาในใจ)ก็ได้บุญแล้ว ไม่เห็นต้องใช้เงินซักบาทเลย หลวงพ่อฤาษีฯ เคยสอนว่า การอนุโมทนานี้ได้ผลมาก ทำให้บารมีเต็มเร็วขึ้น ถ้าจิตเรามีสมาธินี่ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของคนทำเลยทีเดียว แล้วถ้าเขาทำ 100 คน เรานั่งอนุโมทนาอย่างเดียวนี่ ได้บุญมากกว่าคนทำซะอีกเรื่องผลของการอนุโมทนานี้มีกล่าวในพระไตรปิฎก (พระไตรปิฎก เล่มที่ 26 ข้อ 44) ที่กล่าวถึงเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกา

 

---นางไม่มีเงินทำบุญ ได้แต่ยินดีกับมหาทานที่นางวิสาขาทำ ปรากฏว่าเมื่อนางตาย ได้ไปเกิดเป็นเทพนารีในสวรรค์ มีวิมานสวยงาม หรือแม้แต่พระนางพิมพาเอง ที่ตามมาเกิดเป็นคู่บุญพระพุทธองค์ทุกๆ ชาติ เหตุเพราะเมื่อสมัยที่พระพุทธองค์ของเราเกิดเป็นฤาษี และได้ทำบุญกับพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก โดยการทอดกายเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกเดินผ่านเพื่อไม่ให้เปื้อนโคลน และอธิษฐานขอเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ซึ่งพระนางพิมพาในชาตินั้นก็เห็นเหตุการณ์ตลอดและตั้งจิตอนุโมทนาบุญ และ ขอติดตามจนบรรลุธรรมตามพระพุทธองค์ในที่สุด


*4.สีลมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล



---ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อห้ามตามที่ทรงบัญญัติในพระปาฏิโมกข์เพื่อกำจัดกิเลส ศีลอุโบสถ อานิสงส์มากกว่า ศีล 5 ศีล ของพระก็ได้อานิสงส์มากกว่าศีลของเณร อย่างนี้เป็นต้น การรักษาศีลได้อานิสงค์มากกว่าการให้ทาน ในพระไตรปิฎก กล่าวว่า ทำทาน 100 ครั้งบุญไม่เท่ารักษาศีล 1 ครั้ง สำหรับการที่เราจะรับศีล(วิรัติศีล)นั้น ใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 558 ได้กล่าวเอาไว้ ว่า ศีลสามารถวิรัติศีล ได้ 3 วิธีคือ


---1.สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ เจตนางดเว้นซึ่งเกิดขึ้นในทันทีทันใด ที่ประจวบกับเหตุที่จะทำให้เสียศีลหมายความว่า เดิมไม่ได้ตั้งใจจะ รักษาศีล ไม่ได้สมาทานไว้ แต่เมื่อพบกับเหตุที่ตนจะล่วงศีลได้ จึงคิดงดเว้นขึ้นในขณะนั้น เช่น


---- เห็นสัตว์ที่พอจะฆ่าได้ น่าจะฆ่า แต่คิดเว้นเสีย ไม่ฆ่า


--- เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของเขาวางไว้ แม้จะขโมย ก็พอขโมยได้ แต่งดเสีย ไม่ขโมย


--- หญิงที่จะล่วงประเวณีได้ ก็มี ช่องทางและโอกาสก็อำนวยทุกอย่าง แต่ใจคิดงดเว้นการล่วงประเวณีเสีย ไม่ล่วง


--- ไปดูการดูงานถึงเมืองนอก กลับมาคนเดียว จะเล่าอะไร โกหกให้ใครฟังก็ได้ แต่คิดงดเว้นการโกหกเสีย ไม่พูด


--- เหล้าจะกิน ก็มีพร้อม จังหวะก็อำนวย แต่คิดงดเสีย ไม่ดื่ม การตั้งใจงดเว้นเมื่อประจวบเข้ากับเหตุการณ์อย่างนี้ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ผู้งดเว้นถือว่ามีศีลเหมือนกัน


*2.สมาทานวิรัติ สมาทาน แปลว่า รับ


---สมาทานวิรัติ แปลว่า งดเว้นด้วยการสมาทาน ข้อนี้หมายความว่า เราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล(ไม่ว่าจะเป็นการไปรับสมาทานศีลที่วัด หรือกล่าวเองที่บ้าน หรือ คิดขึ้นมาในใจว่าเราจะรักษาศีลที่เรียกว่า เจตนาวิรัติ อย่างนี้ก็ถือเป็นสมาทานวิรัติเหมือนกัน) ครั้นไปพบเหตุการณ์อันชวนให้ล่วงศีล ก็ไม่ล่วงเพราะถือว่า ตนได้สมาทานศีลไว้ จะล่วงก็เสียดายศีล กลัวศีลจะขาด การงดเว้นจากการล่วงศีล ด้วยคำนึงถึงศีลที่ตนได้สมาทานไว้ อย่างนี้ เรียกว่า สมาทานวิรัติ


---สมาทาน วิรัติ กับ สัมปัตตวิรัติ มีผลต่างกันอยู่บ้าง คือ สัมปัตตวิรัติ ทำให้ศีลเกิดขึ้น เฉพาะชั่วระยะหนึ่ง ขณะที่จิตคิดงดเว้นเท่านั้นก่อน นั้นก็ไม่มีศีล หลังจากนั้นก็ไม่มีศีล จำเพาะมีในเวลาตั้งใจ งดเว้นเท่านั้น ส่วน สมาทานวิรัติ คือตั้งใจรักษาศีลอยู่เรื่อยๆ ศีลก็ ย่อมมีอยู่ตลอดเวลา จนกว่าตนเองจะล่วงละเมิดศีล ศีลจึงจะขาด คือเป็น อันสิ้นสุดการสมาทาน ต่อเมื่อได้สมาทานศีลอีก สมาทานวิรัติจึงจะเกิดอีก และเป็นผู้มีศีลสมุจเฉทวิรัติ


*3.สมุจเฉทวิรัติแปลว่า งดเว้นเด็ดขาด


---หมายถึง การงดเว้นของพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่า เราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต หรือ เบียดเบียนผู้อื่น ดังนั้นท่านจึงมีศีลบริสุทธิ์ ตลอดเวลา ไม่มีความเศร้าหมองของศีล ในทางปฏิบัติแล้ว สำหรับปุถุชนอาจคิดว่า เรายังต้องประกอบอาชีพที่ยังต้องผิดศีลบ้างบางครั้ง จึงไม่สมาทานศีลดีกว่า จะได้ไม่ผิด  ศีล…อันนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะการรักษาศีลแม้เพียงชั่วขณะก็ได้กุศลมหาศาล ดังนั้นทางที่ดีเราควรสมาทานรักษาศีลตลอดชีวิต หากพลาดพลั้งทำศีลขาดเมื่อใดก็ให้กำหนดจิต เจตนาวิรัติศีลใหม่ อย่างนี้ศีลเราจะค่อยๆ บริสุทธิ์ขึ้นเอง สมมติว่าเราทำอาชีพแม่ค้าที่ยังต้องฆ่าสัตว์หรืออาชีพประมง แต่อยากรักษาศีลก็สามารถทำได้ โดยครูบาอาจารย์ท่านแนะนำว่า เวลาทำอาชีพก็ทำไป แต่เวลาก่อนนอนให้สมาทานศีลทุกวัน อย่างนี้เวลาเราหลับก็ได้ชื่อว่าเรามีศีลบริสุทธิ์ทุกวัน และในวันพระให้รักษาศีลให้ได้ตลอดทั้งวัน


*5.อปจายนมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการมีกิริยาอ่อนน้อมถ่อมตน


---อปจายนะ คือ ความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม ผู้ที่ขัดเกลาความมานะ และนิสัยกระด้างออกแล้ว รู้จักบุคคลที่ควรจะ อ่อนน้อมด้วย ในฐานะใด ในสภาพใดสำหรับบุคคลที่ควรจะอ่อนน้อมด้วย มี ๓ ประเภท คือ


---๑.วัยวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วย วัย


---๒.ชาติวุฒิ ผู้ที่สุงกว่า ด้วยชาติ ตระกูล


---๓. คุณวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วยคุณธรรม บุคคลผู้มีปกติอ่อนน้อมกราบไหว้ผู้ใหญ่ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ในมงคลสูตร กล่าวว่า ผู้อ่อนน้อมถ่อมตน กำจัดมานะ กำจัดความกระด้างได้ ทำตนให้เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาชาด หรือเสมอด้วยงูที่ ถอนเขี้ยวแล้ว ท่านตรัสว่า เป็นมงคล



*6.เวยยาวัจจมัย(ออกเสียงว่า ไวยาวัจจะมัย) คือ การงานชอบ 


---บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือกิจการสงฆ์และภาระพระศาสนา ข้อนี้เป็นการทำบุญที่เน้นแรงคือ เอาแรงเข้าช่วย หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง เคยสอนเอาไว้ว่า บุญจากการทำเวยยาวัจจมัย นั้น อานิสงส์นี้มีมาก คือ ได้อานิสงส์น้อยกว่าบวชเณรเล็กน้อย


*7.ธัมมัสสวนมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม


---ได้แก่ การฟังธรรมและนำข้อธรรมมาประพฤติปฏิบัติให้พ้นทุกข์การฟังธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญา เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถจะนำ ให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้ การฟังธรรมมีอานิสงส์มากถึง ๕ ประการ คือ


---๑.ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง


---๒.เรื่องใดที่เคยได้ฟังแล้ว ได้ฟังซ้ำอีกย่อมมีความชัดเจนขึ้น

 
---๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้


---๔.ทำความเห็นให้ถูกต้องได้


---๕.จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส


---การได้ฟังพระธรรม พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ประสบผลวิเศษนานาประการ มีการละจากความชั่ว ประพฤติความดี และ บรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นอาสวะได้ในที่สุด เป็นต้น

 
---ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปิยังกรสูตร กล่าวไว้ว่า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีหนึ่ง ที่พระวิหารเชตวันฯ ท่านพระอนุรุทธะกำลังกล่าวธรรมอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ได้กล่าวห้ามบุตรว่า “อย่าอึงไป ภิกษุกำลังกล่าวบทธรรมอยู่ ให้ตั้งใจฟัง เมื่อ เรารู้แจ้งบทธรรมนั้นแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจักมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา หากเราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ จักพ้นจากกำเนิดปีศาจได้”


---ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา คือเมื่อฟังแล้วย่อมเกิดความเข้าใจในธรรม ที่มีผู้ยกมาแสดง เมื่อเข้าใจในธรรมนั้นแล้ว น้อมนำคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ในขณะที่ฟังธรรม แม้จะไม่รู้เรื่องราว ไม่เข้าใจในธรรมนั้น แต่ฟังด้วยความรู้สึกว่า “นั่นคือเสียงแห่งพระธรรม” เลื่อมใสในเสียงที่ ได้ยินย่อมก่อให้เกิดบุญกุศลได้เช่นกัน ดังท่านเล่าในพระไตรปิฎกไว้ว่า ค้างคาว กบ ได้ยินเสียงพระสวด ด้วยความตั้งใจฟัง และมีจิตเลื่อมใสในเสียงที่กล่าวธรรมนั้น ตายลงในขณะนั้น ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ นี่ขนาดฟังไม่รู้เรื่องยังได้อานิสงส์ขนาดนี้


*8.ธัมมเทสนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม


---ได้แก่การอธิบายบรรยายธรรมะให้แก่ผู้ร่วมโลกที่ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายการแสดงธรรม ด้วยใจที่หวังจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ โดยที่ตนมิได้มุ่งหวังในลาภสักการะใดๆ จัดเป็นบุญที่เรียกว่า “ธรรมทาน” เป็นบุญที่ให้ผลมากว่าทานทั้งปวง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง” การแสดงธรรมด้วยการแจกจ่ายธรรม คือ แจกแจงพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่ออนุเคราะห์ให้ผู้ได้รับฟังเกิดจิตเลื่อมใสในพระสัทธรรมของพระพุทธองค์ ที่ทรงพร่ำสอนอย่านี้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ เป็นต้น การแสดงธรรมให้เลิกละ จากอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายเช่น


---การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑


---การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑


---การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑


---การไม่กล่าวร้าย ๑


---การไม่ทำร้าย ๑


---การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑


---การรู้ประมาณในการบริโภค ๑


---การนอนการนั่งในที่อันสงบสงัด ๑


---ความเพียรประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ๑


---ธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร โอวาทปาฏิโมกข์)ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม


*๕.ประการนี้ในใจก่อน แล้วจึงแสดงธรรม คือ


---เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑


---เราจักแสดงธรรมโดยอ้างเหตุผล ๑


---เราจักแสดงธรรมโดยอาศัยความเอ็นดู ๑


---เราจักไม่เป็นผู้เพ่งอามิสในการแสดงธรรม ๑


---เราจักไม่แสดงธรรมให้กระทบตนและผู้อื่น ๑


---ผู้ใดตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ภายในใจแล้วแสดงธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็น “ธรรมทาน” โดยแท้อนึ่ง แม้บุคคลผู้แสดงธรรมเองก็ย่อมได้รับประโยชน์ คือ ได้เข้าใจในความหมายและความลึกซึ้งในธรรมที่ยกมาแสดงนั้นเพิ่มขึ้น ๑ เป็นที่พึงพอใจของพระบรมศาสดา ๑  อาจแทงตลอดเนื้อความอันลึกซึ้งของธรรมนั้น ได้ ๑  เป็นที่สรรเสริญของกัลยาณชน ๑  สำหรับการแสดงธรรมนี้มิได้หมายว่า ภิกษุเท่านั้นที่จะเป็นผู้แสดงธรรมได้ แม้ อุบาสกอุบาสิกา หรือฆราวาสผู้มีความรู้ ผู้ศึกษาธรรมผู้ปฏิบัติ แม้แต่การอบรมเยาวชน หรือลูกหลานด้วยธรรมะ ก็ชื่อว่า “ธัมมเทสนา” เช่นกัน


*9.ภาวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา


---ได้แก่ การปฏิบัติใจเพื่อกำจัดกิเลส แบ่งเป็น สมถะภาวนา และวิปัสสนาภาวนา การภาวนาได้ผลบุญมากกว่าการรักษาศีลอีก รักษาศีล 100 ครั้งบุญไม่เท่าบำเพ็ญภาวนา 1 ครั้ง “ภาวนา” แปลว่า การทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ขั้นสมาธิและปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้ ๒ ประการ คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญ สมถภาวนา ชื่อว่า กรรมฐาน มี ๔๐ ประเภท คือ


---กสิณ ๑๐


---อสุภะ๑๐


---อนุสสติ ๑๐


---พรหมวิหาร ๔


---อรูป ๔


---อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัฏฐาน(รายละเอียดในวิสุทิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒) วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้งใน สภาพธรรมที่เป็นจริงตามสภาพของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กรรมฐาน อันเป็นที่ตั้งของการเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้แก่


---ขันธ์ ๕


---อายตนะ ๑๒


---ธาตุ ๑๘


---อินทรีย์ ๒๒


---อริยสัจจ ๔


---ปฏิจจสมุปบาท ๑๒


---พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า หนทางปฏิบัติเพื่อการเข้าไปรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมทั้ง ๖ ประการนี้ มีเพียงทางเดียวที่จะนำไปสู่พระนิพพานได้ ทางสายเอกนั้นได้แก่


---สติปัฏฐาน ๔


---กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย มี ๑๔ ข้อ


---เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มี ๙ ข้อ


---จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต มี ๑๖ ข้อ


---ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี ๕ ข้อ


---สำหรับการเจริญภาวนาในขั้น บุญกิริยาวัตถุ นี้ โดยทั่วไป ท่านหมายเอาเพียง มหากุศลธรรมดา แต่หากว่าผู้ใด ได้ศึกษาข้อปริยัติ ให้มีความเข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ แล้วพากเพียรปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามแนวทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ก็สามารถเป็น บันไดให้ก้าวไปถึงฌาน หรือมรรคผลได้


(รายละเอียดในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๑๓๑ – ๑๕๒ และทีฆนิกาย มหาวรรค สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๒๗๓ – ๓๐๐)


*10.ทิฏฐชุกัมม์ คือ การทำความเห็นให้ตรงเป็นสัมมาทิฏฐิ


---เชื่อในธรรมและการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิสัมมาทิฐิ ที่เป็น อริยมรรค มีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง(ตรงข้ามกับ มิจฉาทิฏฐิ 10) คือ เห็นว่าการให้ทาน มีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)


---การบูชามีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กันมีผล)การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง) ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่) คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่) โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)


---พวกโอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง จาก มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ


---สรุป ในบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการ นี้ เป็นการทำบุญที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในพระพุทธศาสนา โดยไม่ต้องใช้จ่ายเงินทอง มากมาย มีบุญกิริยาประการเดียวคือ การให้วัตถุทานเท่านั้นที่ต้องใช้เงินทอง บุญกิริยาที่เหลืออีก ๙ ประการ มิต้องใช้เงินทองเลย เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถที่จะสั่งสมบุญได้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้ามีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำบุญเช่นนี้แล้ว ในคาถาธรรมบท ท่านกล่าวว่า ไม่ควรประมาทในบุญเล็กๆ น้อยๆ ว่ายังไม่ควรทำ เพราะแม้บุญเล็กน้อยนั้น ถ้าได้สั่งสมบ่อยๆ ก็ยังมีผลให้เกิดความสุข เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไส้ แม้น้ำหยดลงที่ละหยด ก็สามารถเต็มหม้อน้ำนั้นได้ ฉันใด


---บุญเล็กบุญน้อย ที่บุคคลทำบ่อยๆ ก็ย่อมจะพอกพูนให้เต็มเปี่ยมได้ เหมือนหยดน้ำที่หยดลงมาจนเต็มหม้อน้ำ ฉันนั้นแล.


*อานิสงส์บุญกิริยาวัตถุ 10


*๑.ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย


---๒)เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง


---๓)ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข


---๔)ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก


---๕)ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้


---๖)ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ


---๗)ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี


---๘)ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว


---๙)มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย


---๑๐)ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี


---๑๑)ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ



*๒.สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ


---๒)ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้


---๓)ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง


---๔)ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน


---๕)ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ


---๖)ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน


---๗)ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ


---๘)ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ



*๓.ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม


---๒)มีผิวพรรณผ่องใส


---๓)มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง


---๔)มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว


---๕)เป็นคนใจคอเยือกเย็น


---๖)เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น


---๗)มีบุคลิกอันน่าศรัทธา


---๘)เกิดในตระกูลดี


---๙)มีบุคลิกสง่างาม


---๑๐)มีมิตรสหายมาก


---๑๑)เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป


---๑๒)เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต


---๑๓)สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔


---๑๔)ปราศจากอกุศลทั้งปวง


---๑๕)ปลอดภัยจากศาสตราวุธ


---๑๖)มีอายุยืน


---๑๗)ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ



*๔.อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ) ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)เกิดในตระกูลสูง


---๒)มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง


---๓)มีมิตรสหายดี


---๔)ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ


---๕)มีความสมบูรณ์ในทรัพย์


---๖)ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา



*๕.เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ


---๒)มีมิตรสหายมาก


---๓)มีไหวพริบความจำดี


---๔)มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง



*๖.ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)ไม่มีความอดอยาก ยากจน


---๒)ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน


---๓)มีบริวารดี


---๔)เป็นที่รักของผู้พบเห็น


---๕)มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม


---๖)มีอายุยืน



*๗.ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)มีสุขภาพสมบูรณ์


---๒)มีฐานะดี


---๓)มากไปด้วยลาภสักการะ


---๔)พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ



*๘.ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)เกิดในตระกูลสูง


---๒)มีสติปัญญาดี


---๓)มีมิตรสหายดี


---๔)มีความเชื่อมั่นในตนเอง



*๙.ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)ไม่มีกลิ่นปาก


---๒)มีฟันขาวเรียบ


---๓)บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง


---๔)มีบุคลิกสง่างาม


---๕)มีความจำดี


---๖)เป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้พบเห็น



*๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้



---๑)มีปัญญาดี


---๒)ไม่อดอยาก


---๓)ไม่ยากจน


---๔)มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง


---๕)มีบุคลิกสง่างาม


---๖)พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ


---๗)มีฐานะความเป็นอยู่ดี


---๘)มีบริวารมาก


---๙)มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น



*บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ



---ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน  ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล  ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา  ภาวนามัย อานิสงค์ 10 ข้อดังกล่าว จะสรุปได้ว่า


---บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ได้บุญ เพราะจิต ได้ ข่ม ลด ละ เลิก ตัด กิเลส เป็น ชั้นๆ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน.






.......................................................................................





ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 22 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« January 2025»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท12/01/2025
ผู้เข้าชม8,443,873
เปิดเพจ12,868,813
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view