/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

อานิสงส์ผ้าป่า

อานิสงส์ผ้าป่า

ประเพณีการทอดผ้าป่า







---"การทอดผ้าป่า"  เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด   คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือ ทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปี จะจัดให้มีการทอดผ้าป่า กี่ครั้งก็ได้เช่นกัน ผู้ปรารถนา จะทำเมื่อไรย่อมทำได้ ตามกำลังศรัทธา ซึ่งอาจจะผสมผสานหรือผนวกเข้ากับเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้  อีกทั้ง ยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด


*ผ้าป่าคืออะไร



---คำว่า “ผ้าป่า”  มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ”  ภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึง ผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่ประชาชนเขาไม่ใช้แล้ว นำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพ แล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า



---พระภิกษุที่ต้องการผ้ามาทำจีวรผลัดเปลี่ยน ก็ต้องไปหาผ้าบังสุกุล พอพบแล้วท่านก็จะชักผ้าบังสุกุลนั้นว่า  


---“อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้ เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า” แล้วนำผ้านั้นมาซัก ตัด เย็บ ย้อมทำเป็นจีวร เรียกว่า “บังสุกุลจีวร”

*ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล มี ๑๐ ประเภท ได้แก่


---ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ๑


---ผ้าที่ตกที่ตลาด ๑


---ผ้าที่หนูกัด ๑


---ผ้าที่ปลวกกัด ๑


---ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ๑


---ผ้าที่วัวกัด ๑


---ผ้าที่แพะกัด ๑


---ผ้าห่มสถูป ๑


---ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑


---ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑



*ประวัติความเป็นมา



---ในสมัยพุทธกาล  เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดา ยังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย  รับคฤหบดีจีวร คือจีวรที่ชาวบ้านถวาย  โดยเฉพาะพระภิกษุเหล่านั้น  จึงต้องเที่ยวเก็บผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้  ผ้าห่อศพ ฯลฯ


---เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด  ตัด  เย็บ  ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร  สบง หรือสังฆาฏิ  ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวร ของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล  ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้ว ในเรื่องพิธีทอดกฐิน



---ภายหลังที่มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์อุปสมบท  แก่กุลบุตรกุลธิดา  ที่มีศรัทธาปสาทะ จะปฏิบัติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้  เพื่อการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ให้พระภิกษุผู้ให้อุปสมบท   บอกนิสสัย ๔  (คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง)  แก่ผู้ขออุปสมบท ที่เกี่ยวกับผ้าบังสุกุลนี้อยู่ ในข้อที่ ๒ ดังนี้


---"บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)"



---ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า พระสงฆ์ย่อมต้องอาศัยผ้าบังสุกุล  เพื่อใช้นุ่งห่มจนตลอดชีวิต ผ้าบังสุกุลจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาล ก็มีการทอดผ้าบังสุกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่ง ความปรากฏในธัมมปทัฏฐกถา ดังนี้



---ในวันหนึ่ง พระเทพธิดาถวายผ้า แก่พระอนุรุทธเถระ ผู้มีจีวรเก่าแล้วและเที่ยวแสวงหาจีวรในที่ทั้งหลาย  มีกองอยากเยื่อ เป็นต้น หญิงภรรยาเก่า ของพระเถระนั้นในอัตภาพที่ ๓  แต่อัตภาพนี้ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อ " ชาลีนี"  ในดาวดึงส์ภพ นางชาลินีเทพธิดานั้น  เห็นพระเถระ เที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน  ยาว ๑๓ ศอก   กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า “ถ้าเราจักถวายโดยทำนองนี้ พระเถระจักไม่รับ”  จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อแห่งหนึ่งข้างหน้าของพระเถระนั้น


---ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่  โดยอาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้น จะปรากฏได้ พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้น นั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้ว ถือเอาด้วยคิดว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ” ดังนี้แล้วหลีกไป



---ต่อมา ครั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลาย  เห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์  ต้องการจะนำผ้า     มาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง  จึงนำผ้าอันสมควรแก่สมณบริโภค ไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า หรือข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล


---เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้กระมัง จึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า” (ผ้าที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพอยู่ในป่าช้า)



---แม้ในการทำบุญงานศพ ยังนิยมเอาผ้าไปทอดที่หีบศพ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น เรียกว่า "ชักผ้าบังสุกุล"  ถ้าหากมีการทอดผ้าจำนวนมาก ก็ยังนิยมเอาสายสิญจน์ผูกที่หีบศพ และยังโยงสายสิญจน์นั้นมาวางที่หน้าพระภิกษุสงฆ์ และทอดผ้าไว้บนสายสิญจน์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น ก็เรียกว่า "ชักผ้าบังสุกุล "



---ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าและพระสาวก



---ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต  แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัล เป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก  คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้  นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น


---แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้น ไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้”  พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ



---การที่หมอชีวกโกมารภัจ  ได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุแล้ว  กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้น  พระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล  จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านหมอเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้  จึงกราบทูลขอพร และได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษ คือ ความยินดีตามมีตามได้



---พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และอนุโมทนาบุญ แก่หมอชีวกโกมารภัจ ผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ดำรงอยู่ในอริยภูมิ คือ พระโสดาบัน



---ดังนั้น การนำผ้าไปทอดไว้ในป่าอย่างแต่ก่อน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็น การนำผ้าป่าที่มีลักษณะดีกว่า ไปถวายโดยตรง หรือถ้ายังประสงค์จะรักษาประเพณีทอดผ้าป่า หรือประเพณีที่ให้พระภิกษุถือเอาเฉพาะผ้าบังสุกุลไว้ด้วย ก็นำไปทอดไว้ใกล้ ๆ สถานที่ ที่พระภิกษุอาศัยอยู่ เช่น วัดวาอาราม จนกระทั่งกลายมาเป็นประเพณีนำผ้าสำเร็จรูป เป็นสังฆาฏิ จีวร สบง ผืนใดผืนหนึ่ง หรือทั้งสามผืน ที่เรียกว่า "ไตรจีวร" พร้อมด้วยเครื่องบริวาร ไปทอดเป็นการกุศล สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีการทอดผ้าป่า ก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้



---สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์ จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา


*ประเภทของผ้าป่า



---ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียวคือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ



---(๑)ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน



---(๒)ผ้าป่าโยงกฐิน


---(๓)ผ้าป่าสามัคคี



*(๑)ผ้าป่าหางกฐิน


---ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพ จัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือ เมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน



*(๒)ผ้าป่าโยง


---ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือ แห่ไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้



*(๓)ผ้าป่าสามัคคี


---ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด อย่างสนุกสนาน บางที    จุดประสงค์ ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ



*ผู้ประสงค์จะทอดผ้าป่าจะทำอย่างไร



---การจองผ้าป่า



---สำหรับการจองผ้าป่านั้น ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ


---๑.ผ้า

  
---๒.กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า


---๓.ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง



*การตั้งองค์ผ้าป่า



---เจ้าภาพองค์ผ้าป่าจะจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธา เพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้หนึ่งกิ่ง ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เช่น โอ่ง กระถัง เป็นต้น เพื่อให้กิ่งไม้อยู่คงที่ ไม่เอนไปเอนมา โดยจะใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ อาหารแห้ง ฯลฯ ใส่ในภาชนะนั้น สำหรับเงินหรือปัจจัย ปกตินิยมเสียบไว้กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น



*วันงานทอดผ้าป่า



---ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้



---แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่า นับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่า มาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลง ร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ




*ลำดับการทอดผ้าป่า



---การทอดผ้าป่า เมื่อถึงวัดที่จะทอดแล้ว ก็จัดสถานที่ตั้งองค์ผ้าป่าและเครื่องบริวาร เช่น จัดตั้งไว้ข้างพระอุโบสถ เพื่อจะได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อจัดตั้งโดยนำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุลในขณะนั้น ก็ไม่ต้องกล่าวคำถวาย แต่ถ้ามีพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ ลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ก็กล่าวคำถวายผ้าป่าพร้อมๆ กันดังนี้



*คำบาลีถวายผ้าป่า



---นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)



---อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ



*คำแปล



---ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๓ จบ)



---ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ



---เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับฉันทานุมัติ จากหมู่สงฆ์มาชักผ้าบังสุกุล และไวยาวัจกรของวัด จะมารับต้นผ้าป่าและเครื่องบริวารอื่นๆ ตลอดจนเงินหรือปัจจัยด้วย โดยพระสงฆ์รูปนั้น ก็กล่าวคำปริกรรมว่า



---“อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลเป็นใจความได้ว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า”



---ต่อจากนั้น พระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ต่างก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพพการี เป็นต้น ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดผ้าป่าเพียงนี้


*ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า คือ


---การทอดผ้าป่านั้นไม่เป็นการถวายแก่พระภิกษุที่เฉพาะเจาะจง ถ้านำไปถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ ก็ไม่เป็นการทอดผ้าป่า คือไม่ใช่ทอดผ้าป่าบังสุกุล



---สำหรับในกรณีที่ไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุล เมื่อจัดตั้งองค์ผ้าป่าและบริวารในสถานที่เหมาะแล้ว ก็ให้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ทราบว่ามีผ้าป่ามาทอดที่วัด แล้วก็หลีกไป





*อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า



---๑.เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ หรือสิ่งที่จำเป็นในการครองสมณเพศ มีจีวร หรือผ้านุ่งห่ม เป็นต้น



---๒.เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา



---๓.ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง



---๔.เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักทางจิตใจของประชาชนในชาติสืบไป



---๕.เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ



---๖.เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป


 *การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง


---ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือ ให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป


---ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอย ถอนเสียจากเขตอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดสร้างศาลา สะพาน บ่อน้ำ ให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป


---ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ ธูปเทียน ได้อานิสงส์ ๘ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างอัฏฐ ให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป


---ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป


---ผู้ใดถวายผ้าป่า ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป


---ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดาน เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป


---ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็ง บูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อน บูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้ง ให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป


---ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ ให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์


---ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรี ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป


---ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาด อาสนะ ได้อานิสงส์ ๔ กัลป


---ผู้ใดถวายเตียง เก้าอี้ ฟูกเบาะ ให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรม ให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟ จุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป


---ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำ ได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป


---ผู้ใดได้เผาซากศพ ที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง


---ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น


---ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดา ได้บริวารหนึ่งแสน


---ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง


---ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำ ก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้ บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุข ในชาตินี้และชาติหน้า


---อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใด ก็มีคนนับหน้าถือตา ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้าม สยดสยอง เกรงกลัวต่ออำนาจ ผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตน เมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก


---ครั้นจุติจากพรหมโลก ลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง มั่งมี เศรษฐีกฎุมพี แล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมา บารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอจบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์สามส่วน บริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์ อานิสงส์ถวายสัพพทาน


---ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ


---๑.ให้ของที่สะอาด


---๒.ให้ของประณีต


---๓.ให้ถูกกาล


---๔.ให้ของที่สมควร


---๕.เลือกให้


---๖.ให้เสมอ ๆ


---๗.กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส


---๘.ครั้นให้แล้วปลื้มใจ


---สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้  ประเสริฐยิ่งนักหนา ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญ อยู่ในป่าเชตวัน อันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี อยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี


---ในกาลครั้งนั้น มีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอาประธูป ประทีปคันธรส ของหอม แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลาย เข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า บุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา”


---อันว่าองค์... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า "ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลาย มีใจเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า


---สร้างพระพุทธรูป ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป


---สร้างพระไตรปิฏกธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป


---ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป


---ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป


---ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป


---ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหาร ให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง


---ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทราย ก็จัก ได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป


---ผู้ใดสร้างกุฏี ให้เป็นทานก็จัก ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป


---ผู้ใดสร้างอุโบสถ ให้เป็นทานก็จัก ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป


---ผู้ใดสร้างกฐิน ให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป


---ผู้ใดสร้างอาราม ให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป


---ผู้ใดสร้างพัทธสีมา ให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป


---ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่น ให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป


---บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


---ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป


---สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป


---ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือก ให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป


---ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสาร ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป


---อานิสงค์กฐิน ตามที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ พระบรมศาสดาที่มีพระนามว่า "พระปทุมมุตตระ" เทศนา ไว้ว่า "อานิสงค์ของกฐินมีมากเป็นกรณีพิเศษ” ทั้งผู้ถวายกฐินทาน และผู้ร่วมถวายกฐินทานครั้งหนึ่ง จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นพระอรหันต์ก็ได้ และยิ่งกว่านั้นไซร้ ก่อนที่บรรดาผลทั้งหลายเหล่านั้น คือ ความเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี ความเป็นอัครสาวกก็ดี หรือพระอรหันต์ที่ดี กว่าจะมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ในขณะที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มีบารมียังไม่สูงดี ยังไม่บรรลุ-มรรคผล อานิสงค์กฐินทาน จะให้ผลดังนี้


---ในอันดับแรกเมื่อตายจากความเป็นคน จะไปเกิดเป็นเทวดาและลงมาจุติเป็น เจ้าจักรพรรดิ ปกครองประเทศทั่วโลก มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ๕๐๐ ชาติ


--- เมื่อบุญแห่ง ความเป็นจักรพรรดิสิ้นไป บุญหย่อนลงมา จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ


--- เมื่อบุญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์หมดไป ก็เกิดเป็นเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ


--- เมื่อบุญแห่งความเป็นเศรษฐีหมดไป ก็เกิดเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ 


--- เมื่อบุญแห่งความเป็นอนุเศรษฐีหมดไป ก็เกิดเป็นคหบดี ๕๐๐  ชาติ


---รวมความแล้ว องค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตรัสไว้ว่า คนที่ทอดกฐินทานครั้งหนึ่งก็ดี หรือ ร่วมทอดกฐินก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันหมด ก็เข้านิพพานก่อนก็ได้


---ทั้งกฐินและผ้าป่า ก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่ แต่ทว่าอานิสงส์กฐินได้มากกว่า เพราะว่า กฐินเป็นกาลทาน มีเวลาจำกัด คือ จะทอดได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒


---แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ โดยพระผู้รับผ้ากฐิน มีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท กล่าวคือ พระผู้รับผ้ากฐิน เป็นผู้ที่ได้ฉันทามติจากสงฆ์ว่า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบตลอดพรรษา 


---กาลทานสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตเพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นทานที่มีผลมาก  ยิ่งให้ในผู้มีศีล ผู้ประพฤติตรง ยิ่งมีผลมาก  แม้บุคคลผู้อนุโมทนาต่อทานของผู้นั้น หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย.




 ...............................................................................





 ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก 

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 22 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

  1. 1
    ภูผา
    ภูผา phupha555@hotmail.com 23/07/2021 18:46

    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ในธรรมทานทั้งปวงด้วยครับ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« January 2025»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท12/01/2025
ผู้เข้าชม8,441,965
เปิดเพจ12,866,606
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view