/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ปัญญา 3 ระดับ

ปัญญา 3 ระดับ

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว





---คือ รู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้ถึง 3ระดับ ซึ่งปัญญาทุกประเภทนั้น ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีอะไรสำคัญมากน้อยไปกว่ากัน เนื่องจากการจะข้ามสะพานไปได้ ต้องเดินผ่าน ตั้งแต่ต้นสะพาน ผ่านกึ่งกลางสะพาน แล้วจึงจะถึงปลายสะพาน ข้ามฟากได้ ปัญญา 3ระดับก็เป็นฉันนั้น คือ เริ่มจากเข้าใจว่าอะไรคือ กุศลและอกุศล, เข้าใจกระบวนธรรมชาติ ตั้งแต่กฎแห่งกรรม ถึงไตรลักษณ์, และสุดท้าย จึงตระหนักถึงสภาวะของทุกข์และแนวทางการดับทุกข์ (อริยสัจ)


*ปัญญา 3 ประการที่ว่านี้ ได้แก่


---1.สุตมยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง หมายถึงเอาปัญญาความรู้ความเข้าใจ จากการอ่านและการฟังทบทวนศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งมีพื้นฐานความรู้ ที่ถูกต้องและแม่นยำ ในอรรถะและพยัญชนะ


---2.จินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา หมายถึงปัญญาที่ได้จากการคิดใคร่ครวญ พินิจพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ อย่างตกผลึกตามขั้นตอนของเหตุผล และความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมิใช่การจดจำเฉย ๆ แต่สามารถมองสภาพปรมัตถ์ธรรมออกด้วยจินตนาการ  เข้าใจถึงเป้าหมายและรายละเอียดธรรมะได้ตรงทาง ไม่ว่าจะเป็นนัยตรงหรือเชิงประยุกต์ เพียงแต่มิได้อยู่ในฐานะเป็น"ผู้เห็นด้วยตนเอง"ก็เท่านั้น


---3.ภาวนามยปัญญา   คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา หมายถึง ปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วประจักษ์แจ้งในความมิใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ 5 เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ 'ใจ' หรือ 'วิญญาณ' ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใดๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกข์ทรมาน บีบคั้นจิตใจอีกต่อไป.


*พัฒนาบุคลากรด้วยหลัก ปัญญา 3 ฐาน


---ในกระบวนการดำเนินชีวิตของเรานั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในเรื่องปัญญา 3 ฐาน ได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญญา 3 ฐาน ที่จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ หรือสมรรถนะ มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพ


*ปัญญา 3 ฐาน คืออะไร


---ปัญญาทั้ง 3 ด้าน หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ไตรสิกขา" นั้น เป็นการระลึกรู้ นึกรู้ในตนเอง โดยมองเป็น 3 สภาวะ คือ กาย (กายกรรม) ใจ (มโนกรรม) ความคิด (วจีกรรม) ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่าง คือ


---1.อธิสีลสิกขา คือ ศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม


---2.อธิจิตตสิกขา คือ ศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ 


---3.อธิปัญญาสิกขา คือ ศึกษาเรื่องปัญญา  อบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง


---พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใสและสุขสันต์ ว่า "ชีวิตนั้นเป็นอันเดียวกันกับการศึกษา" เพราะชีวิตคือ การเป็นอยู่ และการที่ชีวิตเป็นอยู่ดำเนินไป ก็คือ การที่ต้องเคลื่อนไหว พบประสบการณ์ใหม่ๆ และเจอสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งจะต้องรู้จัก ต้องเข้าใจ ต้องคิด ต้องปฏิบัติ หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหาทางแก้ไขให้ผ่านพ้นหรือลุล่วงไป ทำให้ต้องมีการเรียนรู้ มีการพิจารณาแก้ปัญหาตลอดเวลา สรุปคือ สิกขา คือ การศึกษา


---สิกขา คือ การพัฒนาตัวเองของมนุษย์ ให้ดำเนินชีวิตได้ดีงามถูกต้อง ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็นมรรค


---ส่วนมรรค ก็คือ ทางดำเนินชีวิต หรือวิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน คือ สิกขามรรค กับ สิกขา จึงประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน


*สิกขา คือ  การศึกษา ที่ฝึกอบรมพัฒนาชีวิต 3 ด้าน มีดังนี้


---1.สิกขา/การฝึกศึกษา ด้านสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ เพื่อนมนุษย์ ตลอดจนสรรพสัตว์ หรือสิ่งแวดล้อมทางวัตถุก็ตาม ด้วยอินทรีย์ 5 หรือด้วยกาย วาจา ก็ตาม เรียกว่า ศีล (คำเต็มเรียกว่า อธิสีลสิกขา)


---2.สิกขา/ การฝึกศึกษา ด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ (คำเต็มเรียกว่า อธิจิตตสิกขา)


---3.สิกขา/ การฝึกศึกษา ด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา (คำเต็มเรียกว่า อธิปัญญาสิกขา)


---ศีล คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านความสัมพันธ์ ติดต่อ ปฏิบัติ จัดการกับสิ่งแวดล้อม ทั้งทางวัตถุและทางสังคม ทั้งด้วยอินทรีย์ต่างๆ และด้วยพฤติกรรมทางกาย วาจา  ศีลเป็นเหมือนการจัดปรับพื้นที่และบริเวณแวดล้อมให้สะอาดหมดจด เรียบร้อย ราบรื่น แน่นหนามั่งคง มีสภาพที่พร้อมจะทำงานได้สะดวก คล่องแคล่ว


---สมาธิ คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่ การพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของจิต คือ


---ด้านคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา ความมีไมตรี ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ สุภาพอ่อนโยน ความเคารพ ความซื่อสัตย์ กตัญญู


---ด้านความสามารถของจิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความกล้าหาญ ขยัน ความอดทน รับผิดชอบ ความมีสติ สมาธิ


---ด้านความสุข เช่น ปิติยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ พอใจ


---สมาธิเปรียบเหมือนการเตรียมตัวของผู้ทำงานให้มีเรี่ยวแรงกำลัง ความถนัดจัดเจนที่พร้อมจะลงมือทำงาน


---ปัญญา คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อที่มีเหตุผล ความเห็นที่เข้าสู่แนวทางของความเป็นจริง การรู้จักหาความรู้ รู้คิดพิจารณา ไตร่ตรอง ทดลอง ตรวจสอบ ความรู้เข้าใจ นำความรู้มาใช้แก้ไขปัญหาและคิดการต่าง ๆ ปัญญาเป็นเหมือนอุปกรณ์ที่จะใช้ทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ


---ตัวอย่างเช่น จะตัดต้นไม้ ได้พื้นที่เหยียบยัน แน่นหนามั่นคง (ศีล) + มีกำลังแขนแข็งแรงจับมีดหรือขวานได้ถนัดมั่น (สมาธิ) + อุปกรณ์ คือ มีดหรือขวานที่ใช้ตัดนั้นได้ขนาดมีคุณภาพดีและลับไว้คมกริบ (ปัญญา) = ได้ผล คือ ตัดไม้สำเร็จโดยไม่ยาก


*ดังนั้น การจะเข้าใจปัญญา 3 ฐานหรือไตรสิกขา เริ่มจาก


---ฐานที่หนึ่งคือ "ฐานกาย" เป็นการออกกำลังกายหรือดูแลร่างกายของตนเองให้ถูกต้อง  เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย ในฐานนี้ เป็นการฝึกสติ ด้วยการเลือกใช้การออกกำลังกายที่ทำให้จิตอยู่กับกายให้ได้ และในขณะที่การออกกำลังกายร่วมกันจะช่วยเชื่อมโยงจิตใจคนในองค์กรได้ เพราะฉะนั้น การทำกิจกรรมในฐานกายนี้ จะทำให้คนในองค์กรมีร่างกายแข็งแรง เกิดความสนิทสนมกัน และเป็นการพักผ่อนสมอง ซึ่งหากพนักงานทำส่วนนี้ได้ จะส่งผลดีต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลาป่วยที่ลดลง การสื่อสารกันในองค์กรดีขึ้น การได้พูดคุยเรื่องงานเล็กๆ น้อยๆ และเป็นการประหยัดเงินให้องค์กร



---ฐานที่สอง คือ "ฐานใจ"ซึ่งจำเป็นต้องฝึกให้แข็งแรงเช่นกัน เพราะมนุษย์ที่ไม่มีใจ จะไม่รักคนอื่น และที่ผ่านมามนุษย์ถูกสอนหรือทำให้มองแต่ตัวเอง ในหลายครั้ง ที่ผู้บริหารในองค์กรใหญ่ นำไปใช้ได้ผลทันที เช่น ทำให้เกิดความเมตตากับลูกน้อง ในขณะที่ในด้านของพนักงานก็ได้ผลทันทีเช่นกัน เช่น ทำให้อัตราการหมุนเวียนต่ำลง เกิดความรักความภักดีต่อองค์กรมากขึ้น ลูกน้องเกิดความเห็นใจลูกพี่ พนักงานสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น ทำให้การทะเลาะกันลดลง ฯลฯ  

 
  
---ฐานที่สามคือ"ฐานคิด" เป็นการคิดในตอนที่ "กายผ่อนคลาย จิตว่างหรือจิตสงบ แล้วจึงคิด" ดังนั้น ต้องฝึกฐานกายและฐานใจให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้น หากไม่ได้ฝึกมา การคิดจะเป็นการคิดแบบเครียดหรือที่เรียกว่า "คิดเฉโก" ทั้งหมด


---อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้น  ขององค์กรที่จะนำหลักปัญญา 3 ฐานนี้ไปใช้  ส่วนสำคัญที่สุดคือ  "ผู้บริหารสูงสุดหรือซีอีโอ"  ต้องเข้าใจและยอมเสียเวลา  ส่วนหนึ่งของงานมาทำในเรื่องนี้คือ  "การมาเล่นกัน" ซึ่งในระยะเวลาประมาณ 4-5 ปี ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ในองค์กรใหญ่ ที่ให้ความสำคัญเช่นเอสซีจี และทรูคอร์เปอเรชั่นเห็นได้ชัดว่า ผลผลิต (Productivity) เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย






.............................................................





ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 24 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« January 2025»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท12/01/2025
ผู้เข้าชม8,442,063
เปิดเพจ12,866,713
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view