/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

รู้จริตทั้ง ๖ และ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ

รู้จริตทั้ง ๖ และ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ

ความหมายของจริต







*จริต หรือ จริยา มีความหมายอยู่หลายความหมาย ดังต่อไปนี้


---1.แปลว่า ความประพฤติ ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน พื้นเพของจิต อุปนิสัย พื้นนิสัย แบบ หรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน


---2.แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิต


---3.แปลว่า ลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นฐานของแต่ละบุคคคล


*รวมความว่า จริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเป็นพื้นฐานใจของแต่ละบุคคคล


*ประเภทของจริต


*จริตของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ มีความแตกต่างออกไป 6 อย่าง ดังนี้ คือ


---1.ราคจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ


---2.โทสจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ


---3.โมหจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ


---4.วิตกจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ


---5.สัทธาจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ


---6.พุทธิจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากปัญญาเป็นพื้นฐานใจ


---จริตของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ละบุคคลอาจมีจริตหลายอย่างคลุกเคล้าปนกัน แต่ว่า จริตใดจะมีมากออกหน้าเป็นประธานเป็นประจำ เป็นตัวนำเด่นกว่าจริตอื่น ก็เรียกว่าเป็นผู้มีจริตนั้น เช่น ราคจริต ความจริงเขามีจริตอื่นหลายอย่างปนอยู่ด้วยมากบ้างน้อยบ้าง แต่มีราคจริตเป็นตัวนำเด่น มีความเข้มข้นกว่าจริตอื่น เราจึงเรียกบุคคลนั้นว่า มีราคจริต แม้จริตอื่นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้


*ลักษณะของจริต


*1.ราคจริต เป็นคนที่รักสวยรักงาม


---คือ พอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางเรียบร้อย ละมุนละไม น่าดู น่าชม ข้าวของเครื่องใช้สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ คำพูดคำจา มีความสุภาพอ่อนหวาน ตามปกติราคจริตจะรู้สึกพึงพอใจ ชอบอกชอบใจ ร่าเริงยินดีเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่เกี่ยวกับความสวยงาม ความสุภาพเรียบร้อย จิตจะเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์เหล่านี้อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และจะรู้สึกเกลียดชังอารมณ์ที่ตรงกันข้าม คือ เกลียดความสกปรก ไม่ชอบอารมณ์ประเภท เศร้าโศก ความพินาศย่อยยับ การทำลายล้าง เป็นต้น ราคจริตเป็นลักษณะที่รักสวยรักงามเป็นสำคัญ ไม่ได้หมายความว่า ราคจริตเป็นผู้ที่มักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง


*2.โทสจริต บุคคลที่มีจริตนี้จะมีจิตใจที่


---ตรงกันข้ามกับราคจริต คือ โดยปกติเป็นคนใจร้อน ใจเร็ว กระด้าง มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน อะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธ มีความรีบร้อนอยู่ในใจเป็นปกติ ผู้ที่มีจริตหนักไปทางโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูดเร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่มีความละเอียดถี่ถ้วน ไม่มีความพิถีพิถันในการแต่งตัว


*3.โมหจริต เป็นลักษณะของจิตที่มีความเฉื่อยชา


---ขาดความคล่องแคล่ว มักเป็นผู้ที่อยู่ใน ความรู้สึกมากกว่าความคิด ไม่ค่อยชอบคิด หรือคิดไม่ออก มักมีอคติเกี่ยวกับตัวเอง มองตัวเองว่าไม่ดี ไม่เก่ง ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่มีความสามารถ ใบหน้าไม่เบิกบาน ตาเยิ้มแต่เศร้า ถึงเวลาพูดไม่พูด ถึงพูดก็ ไม่มีพลัง ตามธรรมดาจิตของคนทั่วไปจะวิ่งไปหาอารมณ์เอง แต่คนโมหจริตแทนที่จะวิ่งไปหาอารมณ์ กลายเป็นว่าอยู่ในลักษณะสะลึมสะลือครึ่งหลับครึ่งตื่น คอยให้อารมณ์มากระตุ้นเองจึงจะทำงาน


*4.วิตกจริต โดยปกติเป็นคนคิดมาก


---ชอบคิด ชอบแสดงความคิดเห็น มีคำถามมาก เพราะสมองเต็มไปด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด แม้มีเรื่องพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็ต้องคิดตรองอยู่ อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยเหตุที่เป็นคนคิดมากพูดมาก ทำให้ต้องใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ทำให้ใบหน้าเต็มไปด้วยริ้วรอยแห่งความเหนื่อย หน้าตาไม่ค่อยสดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจ ได้ยาก


*5.สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ


---ทำตามความเชื่อ เอาความเชื่อ ออกหน้า ความคิดหรือความยึดมั่นมักอยู่เหนือการใช้เหตุผล และมักเชื่อโดยไร้เหตุผล อะไรที่ไม่เป็นไปตามที่ตนเชื่อถือมักไม่ถูกต้อง มีใครแนะนำอะไรก็ตัดสินใจเชื่ออย่างเดียวโดยไม่ได้พิจารณา


*6.พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด


---มีความฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ชอบใช้ความรู้และเหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด มองปรากฏการณ์ต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยปราศจากการปรุงแต่งหรืออคติส่วนตัวฯ

 

*ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘


---ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการนี้ มีมาใน โคตมีสูตร อังคุตตรนิกาย เป็นถ้อยคำที่ตรัสแก่ ประเจ้าแม่น้ำโคตมี ซึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ถือกันว่า เป็นหลักสำคัญ มีข้อความที่น่าสนใจเป็นพิเศษ อีกส่วนหนึ่ง คือ เป็นหลักธรรมที่ทรงเลือกสรรมา ในลักษณะเป็นเครื่องตอบแทนคุณ แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ ในฐานะที่เป็นมารดา อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใด จะเป็นไปถูกต้องตาม หลักแห่งการดับทุกข์ หรือไม่ ก็ควรใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้น จึงเป็นหลักที่แสดงถึง ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา อยู่ในตัว หลักเหล่านั้น คือ ถ้า ธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด



---๑.เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ


---๒.เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ (คือทำให้ลำบาก)


---๓.เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส


---๔.เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ (คือไม่เป็นการมักน้อย)


---๕.เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ


---๖.เป็นไปเพื่อความคลุกคลี


---๗.เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน


---๘.เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก


*พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่ สัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอนของพระศาสดา) แต่ถ้าเป็นไปตรงกันข้าม จึงจะเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ คือ


---๑.เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด


---๒.เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์


---๓.เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส


---๔.เป็นไปเพื่อความอยากน้อย


---๕.เป็นไปเพื่อความสันโดษ


---๖.เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี


---๗.เป็นไปเพื่อความพากเพียร


---๘.เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย


*มีอธิบายว่า 


---ความกำหนัดย้อมใจ ได้แก่ ความติดใจรัก ยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้องหรือแวดล้อม ถ้าการปฏิบัติ หรือ การกระทำ หรือ แม้แต่การพูดการคิดอย่างใด ทำให้ บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆ แล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น การดูหนังดูละคร เป็นต้น มันทำให้เกิดความยอ้มใจ อย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของราคะ เป็นต้น ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือ แม้แต่อยู่ในที่สงัด จะเห็นได้ว่า เป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม พึงอาศัยตัวอย่างนี้ เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆ นี้ ให้ได้ ทั้งในทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การขอบคิดฝัน ถึงสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกยอ้มด้วย ราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น


*คำว่า เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ 


---หมายถึง การทำตนเองให้ลำบากด้วยความไม่รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิดในกรณีที่ไม่ควรจะมีความลำบากหรือลำบากแต่น้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่า คนเราไม่ชอบความลำบากด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้ว ทำไมจึงไปทำสิ่งที่ตนจะลำบาก ทั้งนี้ ก็เพราะ อำนาจของโมหะ คือ ความหลงเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจผิดกลับตรงข้าม แม้ในกรณีที่เป็นเรื่องของการอยากดี อยากเด่น อยากมีชื่อเสียง เป็นต้น ก็มีมูลมาจากโมหะอยู่นั่นเอง กรณีที่เป็นการประชดผู้อื่น หรือ ถึงกับประชดตัวเองก็ตาม ย่อมสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ ซึ่งมีมูลอันแท้จริง มาจากความหลงสำคัญผิดอย่างเดียวกัน นั่นเอง โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ การปฏิบัติ ที่เรียกว่า อัตตภิลมถานุโยค คือ การทรมานตนอย่างงมงาย


*คำว่า สะสมกองกิเลส 


---หมายถึง การเพิ่มพูน โลภะ โทสะ โมหะ โดยรอบด้าน ผิดจากความกำหนัดย้อมใจ ตรงที่ข้อนี้ หมายถึงเป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องสนับสนุนการเกิดของกิเลสทั่วไป และให้ทวียิ่งขึ้นด้วย การสะสมสิ่งซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกิเลส อยู่เป็นประจำ ในกรณีของ คนธรรมดาสามัญ บางอย่างอาจจะ ไม่จัดเป็น การสะสมกองกิเลส แต่จัดเป็น การสะสมกิเลส อย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดยตรง เช่น พวกบรรพชิต หรือ ในบางกรณี ก็จัดว่า เป็นการสะสม กองกิเลส ทั้ง คฤหัสถ์ และ บรรพชิต เช่น การมีเครื่องประดับ หรือ เครื่องใช้ชนิดที่ ไม่มีความจำเป็น แก่การเป็นอยู่ แต่เป็นไป เพื่อความลุ่มหลง หรือ ความเห่อเหิม ทะเยอทะยาน ประกวด ประขันกัน โดยส่วนเดียว เป็นต้น เป็นการขยาย ทางมาของกิเลส ให้กว้างขวาง ไม่มีที่สิ้นสุด


*คำว่า ความอยากใหญ่ 


---หมายถึง การอยากเกินมาตรฐานแห่งภาวะ หรือสถานะ หรือกำลังสติปัญญาของตน เป็นต้น ส่วนความไม่สันโดษ ไม่ได้หมายถึง ความอยากใหญ่ เช่นนั้น แต่หมายถึง ความไม่รู้จักพอใจ ในสิ่งที่ได้มาแล้ว หรือมีอยู่แล้ว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็น คนยากจนอยู่เนืองนิจ เป็นทางให้เกิดความอยากใหญ่ หรือ กิเลสอย่างอื่นต่อไปได้ หรือ ในทางตรงกันข้าม ทำให้เกิดการทำลายตัวเอง จนถึงกับฆ่าตัวตายก็ได้ โดยภาษาบาลี ความอยากใหญ่ เรียกว่า มหิจฺฉตา ความไม่สันโดษ เรียก อสันตุฎฐิ โดยพยัญชนะ หรือ โดยนิตินัย เราอาจจะแยกได้ว่า เป็นคนละชั้น คนละตอน หรือ คนละอย่าง แต่โดยพฤตินัย ย่อมเป็นไปด้วยกัน จนถึงกับหลงไปได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน


*คำว่า ความคลุกคลี 


---หมายถึง การระคนกันเป็นหมู่ เพื่อความเพลิดเพลิน อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการกระทำอันนั้น ความเพลิดเพลิน จากการคลุกคลีนี้ มีรสดึงดูดในทางธรรมารมณ์ เป็นส่วนใหญ่ และก็มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ ที่ได้รับ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุฉะนั้นเอง คนเราจึงติดใจ รสของการที่ได้ ระคนกันเป็นหมู่นี้ ทำให้จิตใจลุ่มหลง มีลักษณะเหมือนกับจมไม่ลง ทำให้ความคิด ความอ่าน ดำเนินไปอย่างผิวเผิน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการคิด อย่างแยบคาย หรือ ลึกซึ้ง แต่พึงทราบไว้ว่า การประชุมกัน เพื่อศึกษา เล่าเรียน ปรึกษา หารือ กิจการงาน อันเป็นหน้าที่เป็นต้นนั้น ท่านไม่เรียกว่า การคลุกคลีกัน เป็นหมู่ในที่นี้ แต่อีกทางหนึ่ง ท่านยังหมายกว้างไปถึงว่า การถูกกิเลสทั่วไป กลุ้มรุม ด้วยสัญญาอดีต ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่หนหลัง แม้นั่งคิดฝัน อยู่คนเดียว ก็กลับสงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่ อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะมีมูล มาจาก ความอาลัย ในการระคนด้วยหมู่


*คำว่า ความเกียจคร้าน 


---และคำว่า เลี้ยงยาก มีความหมายชัดเจนแล้ว การปฏิบัติทำความดับทุกข์ เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัย ความเพียร ความเลี้ยงง่าย จึงจะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระ เรื่องอาหาร มากกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้เสียเวลา และ เสียวัตถุ มากไปเปล่าๆ โดยที่อาจจะนำไปใช้ เป็นประโยชน์ อย่างอื่นได้


*ลักษณะทั้ง ๘ นี้ 


---แต่ละอย่างๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดยตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี และเป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี จึงถือว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ต่อเมื่อปฏิบัติ ตรงกันข้าม จาก ๘ อย่างข้างต้น จึงจะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ หรือ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ นี้นับว่าเป็น หมวดธรรมที่เป็นอุปกรณ์ แห่งการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ อย่างหนึ่ง ในฐานะที่เป็นหลักสำหรับยึดถือ หรือให้ดำเนินไปถูกทาง  (ในสถานที่ทุกๆที่ทุกตัวบุคคลนะครับ).



(หมายเหตุ)........ยกเว้นเรื่องกรรมแต่ละสถานที่หรือบุคคลเพราะเป็นเรื่องเฉพาะครับฯ




..................................................................






คัดจาก หนังสือ  ศึกษาธรรมะอย่างถูก  วิธี หรือ  ธรรมวิภาค  นวกภูมิ    

คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ 

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 1 กันยายน 2558



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« January 2025»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท12/01/2025
ผู้เข้าชม8,441,947
เปิดเพจ12,866,582
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view